เทศบาลกับแนวคิดเมืองของราษฎร หลังปฏิวัติสยาม 2475/ Municipality on behalf of People's Cities in post Siamese Revolution of 1932 Era

Main Article Content

Pinyapan Potjanalawan

Abstract

บทคัดย่อ


บทความนี้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์เมืองที่ถูกกำหนดโดยเงื่อนไขทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในการปฏิวัติสยาม 2475 โดยศึกษาผ่านโครงสร้างของเทศบาลและปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในเขตเมืองต่าง ๆ ระดับประเทศ พบว่า รัฐบาลระบอบใหม่ได้มีบทบาทอย่างมากในการวางโครงสร้างเมืองสมัยใหม่ผ่านกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่าเทศบาล อันเป็นการกระจายอำนาจ และทำให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยใกล้ตัวสำหรับประชาชน อันเป็นภารกิจต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น ก่อนที่จะเกิดกฎหมายผังเมืองและชนบทอีกทศวรรษต่อมา


Abstract


This article aims to explore the history of cities which were determined by the politico-economic conditions that changed from the Absolute Monarchy to Democracy regime. The municipality system and the spatial practice in cities will be the analyzed objects. It can be seen that the government in new regime took a decisive action to plan the modern city structure through the local administration called municipality which was the representation of the decentralization policy and made this sphere to be the nearby democracy for people those were parts of democratic process in local level before Town and Country Planning Act for a decade.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES