พัฒนาการของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูน้ำหลาก : พื้นที่ศึกษา บ้านเกาะหงส์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนที่ 2

Main Article Content

Priyanuch Khamsanong

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวิถีการดำเนินชีวิตกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีการเรียนรู้และปรับตัวอย่างเหมาะสม จนองค์ความรู้เหล่านี้ได้พัฒนาเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของคนในพื้นที่ โดยศึกษาผ่านรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่น พัฒนาการของรูปแบบ การใช้สอยพื้นที่ภายใน วัสดุและเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ที่ทำให้ทราบถึงภูมิปัญญาการดำรงชีวิตและการปรับตัวให้เหมาะสมกับช่วงเวลาต่างๆ โดยกรอบการศึกษานี้อยู่ในพื้นที่บ้านเกาะหงส์ ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ชุมชนบ้านเกาะหงส์มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะพื้นฐานทางสังคมแบบสังคมเกษตรกรรม การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่เกิดจากกระแสน้ำจากทางภาคเหนือที่ไหลลงมาในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม สำหรับงานสถาปัตยกรรมพบว่า สามารถแบ่งลำดับพัฒนาการของเรือนออกได้เป็น 5 ยุค คือจากเรือนไทยภาคกลางผ่านการต่อเติมจนมาเป็นเรือนปั้นหยา เรือนหน้าจั่วแบนและเรือนครึ่งตึกครึ่งไม้ในยุคปัจจุบัน พัฒนาการของเรือนเกิดขึ้นจากรูปแบบของเรือน จำนวนสมาชิก วัสดุและเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ส่วนการแก้ปัญหาน้ำท่วม พบว่าเรือนพื้นถิ่นมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต สามารถตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและการปรับตัวของผู้อยู่อาศัยในช่วงที่เกิดน้ำท่วมได้ อันแสดงถึงความสามารถในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

Abstract

The study aims to understand the relationship between vernacular architecture and the way of life associated to the changes during flooding season in an area of Ban Kohong, Takianluean Sub-Distric, Nakhon Sawan Distric, Nakhon Sawan Province. The particular purpose is to describe how the folks live with natural environment, the changes, how local wisdom developed in contents of house styles, functional utilization of house spaces, material, equipment and technology of construction.

The people in Ban Kohong have settled their own community since the late era of Ayutthaya Period. This community is based on agricultural society, due to overwhelming flow from the river in the North during September to October. House styles can be divided into five periods : Thai style house of the mainland; houses of cards which adapted from Thai style house; Thai style house with flat gable roof; and modern style house constructed from wood and bricks that are found in nowadays. Seemingly, there is a certain evidence showing the development of vernacular houses: it is derived from house style, number of family member, equipments and technology of construction. Adaptation of vernacular architecture corresponding to flooding can be seen through the way of life. Also, it shows the capability of living that relates to the environment changes.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES