คลองแสนแสบ : ความสำคัญในฐานะเส้นทางเดินทัพไทย-กัมพูชา Saen Saep canal : In context of armed forces way between Thailand and Cambodia
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้ศึกษาความสำคัญของคลองแสนแสบในบริบทเส้นทางเดินทัพไทย-กัมพูชา โดยพิจารณาเส้นทางการเดินทัพไทย-กัมพูชาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากในรัชกาลนี้เกิดสงคราม “อานามสยามยุทธ” แม้ว่าในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์จะไม่ได้ให้รายละเอียดหรืออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการขุด “คลองบางขนาก” กับการสงครามครั้งนี้ว่าเกี่ยวข้องกันไว้ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาบริบทอื่นๆ ประกอบไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางเส้นทางเดินทัพระหว่างไทย-กัมพูชา รวมถึงการตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ในบริเวณแหล่งที่เป็นจุดประชุมพลและพักเสบียงอาหารในการลำเลียงส่งไปยังกองทัพไทยในกัมพูชาก็น่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการขุด “คลองบางขนาก” เชื่อม “คลองบางกะปิ” ว่ามีจุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์การสงครามประกอบด้วยอย่างชัดเจน นอกจากนี้เมื่อ “คลองแสนแสบ” หรือ “คลองบางขนาก” หมดบทบาทความสำคัญในฐานะเส้นทางลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับกองทัพแล้ว ต่อมาเส้นทางนี้ก็กลายเป็นเส้นทางสำหรับการคมนาคมติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองด้านตะวันออก เช่น เมืองฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี เป็นต้น
Abstract
This article is discussed about Saen Saep Canal between Thailand and Cambodia in the context of armed force way from Ayutthaya period to early Rattanakosin period (1782-1851). In the reign of King Rama III during early Rattanakosin period, Thai armies were sent to Cambodia for conducting the war with the Vietnamese troop. Although the chronicle of King Rama III composed by Chao Phraya Thippakornwong has not been mentioned about the relationship of this war and Bang Khanak Canal, the other surrounding evidences such the settlements on the delivered route could be presumed that this Canal was ducted for the strategy of the War. In addition, after the demilitarization, Bang Khanak Canal was used for communication between Bangkok and the Eastern region such Chachoengsao, Prachin Buri and Srakaew provinces.