ภูมิหลังการตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และการเคลื่อนย้ายสู่ประเทศไทย ส่วนที่ 1 Historical Background of Tai-Lao Settlement and Movement to Thailand Part 1

Main Article Content

Kreangkrai Kirdsiri

Abstract

บทคัดย่อ

“ภูมิหลังการตั้งถิ่นฐานกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว และการเคลื่อนย้ายสู่ประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในชุดโครงการวิจัยศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์ หัวข้อ “การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางของประเทศไทย (Holistic Study for the  Adaptability in the Different Contest of Tai-Lao Ethnic in the Central Region Basin of Thailand)”

การศึกษานี้จึงมุ่งประเด็นเรื่องการประวัติศาสตร์ถิ่นฐานดั้งเดิม และกระบวนการเคลื่อนตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวมาสู่ประเทศไทยในบริบทของประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างความเข้าใจในระดับถัดไปของปรากฏการณ์ที่สืบเนื่องหลังจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว อาทิกลุ่ม ลาวเวียง ลาวครั่ง ลาวพวน และลาวโซ่ง (ไทดำ) ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายหลักของชุดโครงการวิจัยฯ

จากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการศึกษาภาคสนาม เพื่อศึกษาข้อมูลในประเด็นด้านภูมิศาสตร์ พบว่า การเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวมาสู่ลุ่มน้ำภาคกลางของไทยนั้น มิได้เป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจ หากแต่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามขยายอำนาจของสยาม

การตั้งถิ่นฐานร่วมกันเป็นชุมชนของกลุ่มไทดำ ไทยวน ลาวพวน ลาวเวียง ลาวครั่ง ในลุ่มน้ำภาคกลางเกิดจากการกำหนดโดยมูลนายเป็นสำคัญ กลุ่มชาติพันธุ์จึงไม่มีโอกาสเลือกพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานแรกเริ่มได้เอง ถิ่นฐานใหม่ในลุ่มน้ำภาคกลางและถิ่นฐานเดิมในลาวและเวียดนาม มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยาที่แตกต่างกันสิ้นเชิง การตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินที่ไม่คุ้นเคยจึงต้องปรับตัวในระบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ แต่ก็ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกันในชุมชนและเครือข่ายคนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน จนสามารถธำรงรักษาวัฒนธรรม ประเพณี และภาษาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง อีกทั้งยังทำให้มีการปรับตัวของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย

Abstract

Historical background of the settlement of Tai-Lao ethnic group and the movement to Thailand is one part of the research project on “Holistic Study for the  Adaptability in the Different Contest of Tai-Lao Ethnic in the Central Region Basin of Thailand”, by Professor Ornsiri Panin.

The study aims to study the traditional and historical settlement as well as the movement of Tai-Lao ethnic group to Thailand. Historical context is the basis for the understanding of the settlement of this group, whose main population comprised Lao Wieng, Lao Khrang, Lao Phuan, and Lao Song (Tai Dum).

It was found from the historical documents and field studies in terms of geographical aspects that the movement of Tai-Lao ethnic group to the basins in central Thailand was not made by the willingness, but by the effects of war and Siamese power.

The communal settlement of Tai Dum, Tai Yuan, Lao Wieng, Lao Khrang, and Lao Phuan was specified by the noble head, so the people could not select the areas to settle by themselves. The new settlement in the areas of basins in central Thailand and their origins in Laos and Viet Nam was totally different in terms of natural surroundings and ecological systems. As a result, the people needed to adjust themselves to new living circumstances. However, relationship and network were also made and became their cultures, social structure in the early Rattanakosin period.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES