ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชาวสวน จังหวัดสมุทรสงครามตอนบน (ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา และตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที) A History of Orchard Culture In the Upper Part of Samudsongkram Province (Tambon Taka, Amphawa District and Tambon Donmanora, Bangkontee District)

Main Article Content

Suphaphorn Jindamaneerojana

Abstract

บทคัดย่อ

“สวนนอกบางช้าง” คือ บริเวณจังหวัดสมุทรสงครามตอนบน ซึ่งปัจจุบันได้แก่ พื้นที่ในอำเภออัมพวาตอนบนและอำเภอบางคนที บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทำสวนเก่าแก่นับตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมการทำสวนย่านนี้มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลุ่มลึกจึงเลือกกรณีศึกษาพื้นที่ 2 ตำบลในจังหวัดสมุทรสงครามตอนบน คือ ตำบลท่าคา อำเภออัมพวาและตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที ด้วยวิธีการศึกษาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเป็นหลัก (สำรวจ สังเกต เก็บข้อมูลจากผู้รู้และใช้ข้อมูลท้องถิ่นทุกรูปแบบ) และใช้วิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

จากการศึกษาพบว่า จังหวัดสมุทรสงครามเป็นเมืองปากน้ำ มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน มีคูคลองมากกว่า 300 สายเชื่อมโยงกัน ทำให้ดินบริเวณจังหวัดสมุทรสงครามตอนบนมีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการทำสวน การทำสวนย่านนี้เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศ เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำสวน โดยเฉพาะการทำสวนแบบยกร่อง มีการทำสวนเตียนหรือสวนพืชล้มลุกและการทำสวนผลไม้มาแต่อดีต ชาวสวนย่านนี้มีทั้งคนไทยและคนจีนอยู่สืบทอดกันมาหลายชั่วคน ต่างสืบทอดภูมิปัญญาการทำสวน มีการแลกเปลี่ยนทางการค้าและวัฒนธรรม เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและจีนอย่างแนบแน่นและต่างอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจมาช้านานจนทำให้วัฒนธรรมชาวสวนไทยจีนบริเวณนี้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่โดดเด่นและน่าสนใจ

การเปลี่ยนแปลงของการทำสวนเตียนและสวนผลไม้เกิดขึ้นในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา   มีปัจจัยเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศที่เน้นความเจริญทางเศรษฐกิจ มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก เกิดการสร้างเขื่อนเหนือแม่น้ำแม่กลองและมีการตัดถนนหลายสาย จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดและเป็นพื้นที่สวนแบบยกร่องที่เหลืออยู่ในประเทศไทยขณะนี้กำลังได้รับผลกระทบ ดังเช่นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ตำบลท่าคาต้องเลิกทำสวนเตียนหันมาทำสวนมะพร้าวแทน ในขณะที่ตำบลดอนมะโนราที่อยู่ถัดขึ้นไปค่อยๆ ลดการทำสวนเตียนลงและหันมาปลูกมะพร้าวมากขึ้น

การเรียนรู้และวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวสวนจะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง การทำสวนจากอดีตถึงปัจจุบัน เข้าใจวิถีชีวิตวัฒนธรรมทั้งชาวสวนไทยและชาวสวนไทยเชื้อสายจีนที่ยังปรากฏเหลืออยู่ในจังหวัดสมุทรสงครามตอนบน โดยเฉพาะตำบลท่าคา อำเภออัมพวา และตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที ชาวสวนทั้งไทยและไทยเชื้อสายจีนต่างยังภาคภูมิในการเป็นชาวสวนอยู่จนทุกวันนี้

Abstract

“Suan Nok Bang Chang” is located in the upper region of Samudsongkram Province which includes the upper part of Amphawa District and Bangkontee District. The whole area of “Suan Nok Bang Chang” has been an old orchard area since Ayutthaya Period (1893-2310 B.C.) the traditional ways of orchard cultivation in this region has been changing with great interest. To study this orchard culture in depth, the researcher chose two specific areas as case studies, namely Tambon Taka, Amphawa District and Tambon Donmanora, Bangkontee District. The research is mainly based on various types of local information (by means of surveying, observing and data collecting from the local informants) and is conducted through the research methodology of local history.

According to the research, Samudsongkram Province is situated on the front of the Gulf of Thailand where Mae Kong River flows across and is also criss-crossed with more than 300 canals and water ways. This helps this province to be a fully fertile region which is well suitable for crop cultivation. However, it is also a flood prone area. Crop cultivation in this region started out to cape with the geographical environment. Local wisdom in cultivating orchards and plantations especially the platform-type ones has therefore been developed.

The cultivators in this region of Samudsongkram Province comprise of both Thai and Chinese-Thai people who have settled down there for many generations. They have all been practicing the traditional local wisdom in crop cultivating. What is special about this region is that these cultivators have created an interesting unique Thai-Chinese orchard culture as a result of a perfect blending of Thai and Chinese expertise, cultures and life styles.

The cultivation of “Suantians” (short term life plants) and orchards in this region of Samudsongkram Province has been changing for during the past 40 years due to the government’s development plans which emphasize economic growth by enhancing the industry. Dams have been constructed in the upper part of Mae Klong River and more roads have been built. Samudsongkram, the smallest agricultural area with the platform-type orchards in Thailand, has felt the impact of this industrial progress. As a result, there have been some changes of the orchard culture. Many platform-type “Suantians” in Tambon Taka have totally been replaced with coconut plantations whereas in Tambon Donmanora, the number of platform-type “Suantians” has gradually decreased as the cultivators started to plant coconut palms instead.

The study of the people’s way of life and their orchard culture helps to understand how the orchard cultivation has been developed and changed from the past to the present. Furthermore, it helps to understand the life styles and cultures of both the Thai and the Chinese-Thai cultivators who have settled down in the northern part of Samudsongkram Province, especially in Tambon Taka, Amphawa Distrect and in Tambon Donmanora, Bangkontee Distrect. These people are still very proud of their being cultivators.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES