โบสถ์-วิหารแบบล้านช้างในประเทศไทย ส่วนที่ 1 Lan-Chang ordination and wihara halls in Thailand Part 1

Main Article Content

Thaipat Puchidchawakorn

Abstract

บทคัดย่อ

โบสถ์และวิหารแบบล้านช้างในดินแดนภาคอีสานของไทยที่ทำการศึกษาทั้ง 7 แห่ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหลักฐานแสดงความเป็นล้านช้างที่สำคัญ คือ เอกสารประวัติการสร้างที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานทางศิลปะสถาปัตยกรรม รวมถึงคุณค่าต่อสังคมที่ดำรงสืบมาจนปัจจุบัน สามารถสรุปลักษณะเฉพาะหรือลักษณะร่วมของรูปแบบล้านช้าง ได้แก่ แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่ยกเก็จหรือย่อมุม มีการซ้อนชั้นหลังคาแบบล้านช้าง และมีรูปทรงอาคารที่มีสัดส่วนและเส้นโค้งเฉพาะตัว นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบประดับตกแต่งอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น โก่งคิ้ว ช่อฟ้ากลาง คันทวยแขนนาง ตลอดจนการเขียนฮูปแต้มที่ผนังด้านนอก ความแตกต่างที่ชัดเจนของโบสถ์วิหารแบบล้านช้างและแบบล้านนา คือแผนผัง การซ้อนชั้นหลังคา รูปทรง และเส้นโค้งของหลังคา ทั้งนี้วัดลาวล้านช้างในแถบภาคอีสาน เริ่มได้รับแนวคิดจากส่วนกลาง นับตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา และมีความชัดเจนสมัยหลังรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่แนวคิดและนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองอันเป็นรูปธรรมจากส่วนกลางเข้ามามีผลกระทบ ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ศาสนสถานในส่วนภูมิภาค นอกจากการเผยแพร่แบบมาตรฐานของกรมศิลปากรไปสู่ภาคอีสานแล้ว ยังมีพระสงฆ์ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่แนวคิดจากส่วนกลางไปสู่พระสงฆ์และวัดแบบล้านช้างในแถบภาคอีสาน ซึ่งจะได้ทำการศึกษาถึงบทบาทของบุคคลอื่น และปัจจัยอื่นในโอกาสต่อไป

Abstract

This paper studies Lan-Chang ordination and wihara halls in northeast region of Thailand. The research draws upon archival documents and upon the examination of seven case studies of ordination and wihara halls in Lan-Chang style, all of which are situated along the banks of Mekong River. The characteristics of the Lan-Chang style architecture is that the buildings are built upon pure rectangular plan and covered with stacked roofs. Lan-Chang style architecture, moreover, have well-proportioned, distinctive architectural elements, and external painting on the outer side of the buildings’ walls. However, such distinctive characteristics of Lan-Chang style architecture had declined, since the period of King Rama IV onwards (1851). Particularly, during the fifth reign (1868-1910), the impact of centralization policies, through the role of leading monks, led to the transformation of regional Buddhist architecture, including Lan-Chang ordination and wihara halls.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES