ข้อสังเกตบางประการทางประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนกับการฟื้นฟูเมืองในประเทศไทย Some Observations on Political Changes in History that Affected the Sense of Community and Urban Rehabilitation Projects in Thailand
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
กระบวนการวางแผนฟื้นฟูเมืองนับเป็นกลไกของการวางแผนที่สำคัญประการหนึ่ง ในเชิงทฤษฎีการวางแผนได้เริ่มต้นมาจากการวางแผนแบบรวมศูนย์กลางอยู่ที่ภาครัฐ หรือนักวางแผนที่มีบทบาทตั้งแต่การวางนโยบาย แผน ตลอดจนการดำเนินการและควบคุมให้เป็นไปตามแผน และได้มีวิวัฒนาการไปสู่กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีสิทธิการตัดสินใจประเด็นต่างในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการวางแผนสำหรับบทความนี้ได้ทบทวนเหตุของการเปลี่ยนแปลงเชิงประวัติศาสตร์ของรูปแบบกระบวนการวางแผนฟื้นฟูเมืองผ่านมุมมองด้านการเมืองการปกครอง อันเนื่องจากการตัดสินใจในการฟื้นฟูเมือง นับเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน และจะมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก จึงมีความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครองของสังคม ดังนั้นการสร้างความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองกับการฟื้นฟูเมืองของประเทศไทย นับเป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การค้นหากระบวนการวางแผนฟื้นฟูเมืองที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ
Abstract
Planning process is an essential mechanism for planning theory. The early planning process was centralized by governments or planners with the authority to issue policy, plan, implementation, and control. Paradigm shift to decentralization has subsequently followed to accept community participation in decision making in each step of the planning process. This article investigates history changes in politics related to resources management in the city of by involve many stakeholders. Thus, the results of such investigating have brought about changes related to urban rehabilitation that contribute to an optimal pattern of planning process for Thailand.