การเมืองเรื่อง “ย่านประวัติศาสตร์” ในสิงคโปร์/ Politics of Historic Districts in Singapore
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การจัดการมรดกวัฒนธรรมในเมืองเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์เชิงอนุรักษ์ และลักษณะทางสังคมวิทยาของโครงการอนุรักษ์ สิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาย่านประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ หรือกล่าวให้กว้างที่สุดคือพื้นที่ที่แสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพัฒนาการของเมืองสิงคโปร์ กระบวนการดังกล่าวส่งผลอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเสริมให้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่สะท้อนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จีน อินเดีย อาหรับ มาเลย์ แต่ในอีกทางหนึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์ชวนให้ตั้งคำถามถึงนิยามของ “มรดกวัฒนธรรม” ว่าเอกลักษณ์ต่างๆ ที่โครงการอนุรักษ์ฯ ชูไว้นั้นสามารถแสดงลักษณะทางวัฒนธรรมได้จริงหรือ หรือโครงการดังกล่าวเป็นเพียง “เครื่องกรอง” ทำหน้าที่คัดสรรเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์ที่ต้องการขับเน้นและเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงบางประการที่เกิดขึ้นในกระบวนการอนุรักษ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์
Abstract
Urban heritage management has become an important issue for historic conservation and sociological study of the project. Singapore is one of the countries that emphasizes on developing historical and ethnic-bounded precincts to reflect the diversity of culture in the country. The conservation projects are conducted in various areas where the descendants of “Chinese, Indian, Malay and Others” immigrants have settled. However, such “cultural heritage” project leads to some crucial questions as to whether the process of conservation really brings authentic features of culture to the public awareness, or has such process only a selective storytelling which emphasizes certain aspects of history and culture, and deliberately forget others.