องค์รวมภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา/ Holistic Cultural Landscapes of Community and Vernacular Architecture in the Area of Songkhla Lake Watershed
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ในบทความ “องค์รวมภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” นี้เป็นการเรียบเรียงเชิงพรรณนาขึ้นมาจากการวิจัยและการสังเคราะห์ข้อมูลในโครงการวิจัยต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาโดยใช้พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นสนามวิจัย ทั้งนี้แบ่งเนื้อหาหลักของบทความออกเป็น 3 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 “การศึกษาภูมิศาสตร์ของพื้นที่คาบสมุทรภาคใต้ เน้นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลของคาบสมุทรภาคใต้ และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในมิติภูมิศาสตร์ อาทิเช่น ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ที่ตั้ง และที่ตั้งสัมพันธ์
ประเด็นที่ 2 คือ “ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตามลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่าง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตผู้คนที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับประเด็นทางภูมิศาสตร์อย่างแนบแน่น ก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญาแบบต่างๆ ในการดำเนินชีวิต และเมื่อมีทรัพยากรการผลิตที่มากเกินกว่าความต้องการใช้สอยก็จะนำมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ซึ่งนอกจากจะได้บริโภคและอุปโภคผลผลิตที่มาจากระบบนิเวศน์อื่นๆ แล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน และนำไปสู่การส่งผ่านการเรียนรู้ในวิธีการแก้ไขปัญหา และภูมิปัญญาในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วย
ประเด็นที่ 3 คือ “การศึกษาองค์ประกอบของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชน และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาแบบเป็นองค์รวม” เพื่อสร้างคำอธิบายถึงลักษณะทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมในพื้นที่จากหลักฐานประเภทต่างๆ ทั้งการลงสำรวจภาคสนาม การศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การทบทวนสารสนเทศ การสัมภาษณ์ผู้คนในท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องภูมิทัศน์วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างเป็นองค์รวม ก่อนที่สภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรมในพื้นที่ศึกษาที่มีความเปราะบางอย่างสูงนั้นจะเกิดความเปลี่ยนแปลงไป
จากการศึกษาพบว่าความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างหลากหลายของภาคใต้ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทาง “ภูมินิเวศน์ (Cultural Ecology)” และส่งอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในลักษณะของ “นิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology)” ที่กำกับให้ผู้อยู่อาศัยต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เมื่อผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตถูกผลิตซ้ำจนกลายเป็น “ภูมิปัญญา (Local Wisdom)” ที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต และการสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยซึ่งมีผลลัพธ์เป็น “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย (Vernacular Dwelling Architecture)” ประกอบสร้างกันเป็น “ภาพลักษณ์ (Image)” ของ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape)” ของภาคใต้ อันเป็นเอกลักษณ์ในแง่ของความสัมพันธ์กับระบบนิเวศวิทยาวัฒนธรรมอย่างแนบแน่น และส่งผ่านออกมาในการก่อรูปของผังชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัย
Abstract
The article “Holistic Cultural Landscapes of Community and Vernacular Architecture in the Area of Songkhla Lake Watershed” is the description of what has been found from the study and the synthesis of the research project. The contents can be divided into three aspects.
The first aspect is “the Study of Geography of the Southern Thai Peninsular Focusing on Songkla Lake Watershed”. The emphasis is the data collected in the area of Southern Thai peninsular in terms of landform, climate, location, and relative location.
The second aspect is “the Settlement of Community in the area of Songkhla Lake Influenced by Different Geographical Factors”. This clarifies close relationship between human lives and geographical limitations which has brought about local wisdom. Products are exchanged among groups. This conveys that local people depend on each other, then they can consume products from other different resources. This also leads to the ways they have learnt to solve problems and local wisdom in housing.
The third aspect is “the Holistic Study of Components of Cultural Landscapes of Community and Vernacular Architecture in the Area of Songkhla Lake Watershed” so as to explain aspects of cultural landscapes from evidences found during the field studies, historical evidences, review of literature and information, and interview with the locals. Knowledge about cultural landscapes and vernacular architecture has been collected, in terms of both nature and culture, in the fragile area before it has been distorted.
It was found that diversity in geographical aspects in the South has caused diversity in cultural ecology and has influenced in the settlement where cultural ecology has played its role. As a result, lives need to adjust along with local wisdom in ways of life and creation of dwelling which have been formed. Finally, vernacular dwelling architecture becomes the image of Southern cultural landscapes, in terms of formation of community and vernacular architecture, with identity which portrays close relationship between ecology and culture.