เรือนแพบก ภูมิปัญญาการอยู่อาศัยในพื้นที่น้ำหลาก อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี/ Ruean Pae Bok : Wisdom of Living in Flooding Area of Kiriratnikom District, Suratthani Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจในชุมชนท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำพุมดวง ในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปีน้ำจะเอ่อท่วมชุมชน แต่ชาวบ้านกลับอาศัยอยู่ร่วมกับน้ำอย่างเป็นปกติสุขโดยไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต เรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “ชุมชนสะเทินน้ำสะเทินบก” โดยเรือนจะตั้งอยู่บนพื้นดินในช่วงหน้าแล้ง แต่เรือนจะลอยขึ้น บนผิวน้ำในลักษณะของเรือนแพในช่วงน้ำหลาก จึงนำมาซึ่งงานวิจัยนี้ในการสำรวจและค้นหาความจริงของ “เรือนแพบก” ในฐานะเรือนสะเทินน้ำสะเทินบก โดยเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรมซึ่งยังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจน และสถานการณ์การดำรงอยู่ของเรือนแพบกในปัจจุบันเป็นอย่างไร โดยมีคำถามของงานวิจัยคือ ลักษณะเรือนแพบกที่สัมพันธ์กับการใช้ที่ว่างภายในเรือนเป็นเช่นไร และเรือนแพบกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ด้วยปัจจัยใด โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสำรวจภาคสนาม
ผลของการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของเรือนแพบกคือ ปัจจัยภายใน จากความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่กระทบต่อการทำมาหากิน ของผู้คนในชุมชนที่มีผลมาจากการเปลี่ยนการคมนาคมจากทางน้ำมาใช้ทางบกแทน ทำให้การค้าทางน้ำหายไป ซึ่งทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างเขื่อนรัชประภาส่งผลต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน และความวางใจว่าน้ำจะไม่ท่วมอีกส่งผลให้มีการสร้างบ้านถาวรบนบกมากขึ้น และปัจจัยภายนอกคือ วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้าง การที่ไม้ไผ่ในพื้นที่หายากขึ้นทำให้มีการคิดวัสดุทดแทน โดยใช้ถังน้ำมันมาเสริมบางจุด หรือการสร้างห้องน้ำห้องส้วมขึ้นแต่ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วง น้ำท่วม เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการดำรงอยู่ของเรือนแพบกทั้งสิ้นการดำรงอยู่ของเรือนแพบกแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับวิถีชีวิตชาวบ้านซึ่งสะท้อนการปรับตัวและเป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติ จึงทำให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันเรือนแพบกยังคงอยู่รอดตราบเท่าที่ยังสอดคล้องกับชีวิตในเรือนและสภาพแวดล้อมธรรมชาติ อันเป็นภูมิปัญญาสำคัญที่ควรฟื้นฟูและนำมาปรับใช้กับการออกแบบที่อยู่อาศัย และกับการพัฒนาซึ่งคำนึงถึงความสอดคล้องของวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมต่อไป
Abstract
This paper is excerpted from the survey research at Takanon Community in Kiriratnikom District, Suratthani Province. This village community situates in flooding area along Pumdaong River Basin. In flood season, water would inundate the community area while local people could normally inhabit with flooding condition without any obstruction because of this wisdom of living. Sumet Jumsai na Ayudhya (1996) had defined the term “Amphibious Community” for this village as the houses had been placed on the ground during dry season and can be floated related to water level in flood season. This condition brought to the significance of the research and survey of the real situation of “Ruean Pae Bok” or Amphibious Floating House as an Amphibious Architecture which has not been explicitly studied about the existence of Ruean Pae Bok in nowadays situation. This research questions focused on the relationship of physical structure of Ruean Pae Bok and interior living space, and the factors of change which effect to the transformation of Ruean Pae Bok by using analysis from secondary data and field survey.
The research result found that, there are factors that effected to the existence of Ruean Pae Bok which are internal factors and external factors. Firstly, the internal factors were from changes of way of life which directly affected from water to land-based transportation and caused the water trading activities and related occupations. And the change of environment and water condition from the construction of Ratchaprapa Dam made changes in people’s thought that there would not be flooding again made the decision to build more permanent houses on the land. Secondly, the external factors are materials and construction technology, while bamboo is hardly found so that new material could be replaced such as metal fuel tank or the construction of permanent toilet which fixed the land and cannot appropriately use during flood season. The existence of Ruean Pae Bok had been affected to these internal and external factors.
Existence of Ruean Pae Bok or Amphibious Floating House can be implied to the sense of resilience and adaptive measure to disaster as a part of living with changing environment, especially during flood season as long as wisdoms of living is to survive and adaptation of design and development according to lifestyle and environment should take into account.