หอธรรมศิลป์ล้านนา/ Lanna Dhamma & Contemporary Art Learning Center

Main Article Content

Jedsada Supasri

Abstract

บทคัดย่อ

ขณะที่โลกกำลังเป็นสากลด้วยระบบข่าวสาร  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยมีการประยุกต์ให้เกิดกิจกรรมและช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงหลักธรรมคำสอน จึงเลือกนำโครงการ “หอธรรมศิลป์ล้านนา” มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมกิจกรรมและช่องทางที่เกิดขึ้นดังกล่าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือของไทยซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในอดีต  ด้วยมีลักษณะของโครงการเป็นหอศิลป์ร่วมสมัยที่มีเนื้อหาเชิงธรรมะ ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้ตระหนักถึงเรื่อง “การจัดแสง” ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อลักษณะ เนื้อหา ตลอดจนการก่อรูปงานสถาปัตยกรรมของโครงการ

จากการสังเกตสภาวะ “แสงธรรมชาติ” ในอาคาร “วิหารโถงล้านนา” พบว่ามีสภาวะแสงที่นุ่มนวลและสงบนิ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจาก “แบบการ ให้ความสว่างโดยวิธีใช้แสงสะท้อน” ลอดผ่านองค์ประกอบ “ช่องเปิด” ของอาคารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน จึงได้ตั้งข้อสังเกตต่อไปถึง “คติ” ที่ส่งอิทธิพลแก่ “แนวคิดในการออกแบบ” วิหารโถง วิหารเอกลักษณ์แบบแรกของล้านนาให้มีลักษณะอาคารเป็นแบบ “เปิดโล่ง หรือ โถง” และมีรูปแบบช่องเปิดรับแสงที่แตกต่างกัน ด้วยเล็งเห็นว่าแบบสถาปัตยกรรมและช่องเปิดในส่วนซึ่ง “ก่อรูปจากการกำหนดขอบเขตด้วยแสงธรรมชาติ” อันนำมาซึ่งการทำให้เกิดสภาวะแสงดังกล่าวขึ้นนั้นเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทยล้านนาอย่างหนึ่ง

วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมไทยฉบับนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษารูปแบบ และสัดส่วน องค์ประกอบ “ช่องเปิด” และ “ฝาย้อย” ของตัวแบบสถาปัตยกรรม “วิหารโถงล้านนา” ต่อหน้าที่ในการกำหนดให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาภายในอาคาร เนื่องด้วยมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละ “ชั้นซดหลังคา”  และ “การยกเก็จ” ผังอาคารตามแบบแผนอย่างน่าสนใจ ตลอดจนเพื่อศึกษา “คติจักรวาลพุทธศาสนาลังกาวงศ์” ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการสรรค์สร้างพุทธภูมิแบบล้านนาในส่วนซึ่งเกี่ยวข้องกับแสงธรรมชาติ เพื่อสื่อความหมายถึง “โพธิมณฑลแห่งการตรัสรู้” ด้วยเป็นแนวทาง ในการออกแบบหอธรรมศิลป์ล้านนาให้เป็น “พื้นที่แห่งการรู้แจ้งทางปัญญา” ที่สอดคล้องกับโจทย์แห่งยุคสมัยในบริบทของสังคมไทยล้านนาปัจจุบันต่อไป

Abstract

Whereas the world has been internationally communicated by the information system, activities and approaches; in terms of Buddhist propagation among Thai society, have been variously applied in order to deeply appreciate in Dhammas. To promote these existing activities located in Northern of Thailand, the “Lanna Dhamma and Comtemporary Art Learning Center” project was selectively ascertained as a case study. Formerly, Lanna Kingdom had been situated in the north where was characterized in the Contemporary Art Learning Center with Dhamma-oriented contents. In this study, the “lighting” is significantly considered as the main factor affecting to the project features and accents included to the formation of architecture.

Observed the “natural light” phenomenon inside  “Viharn Thong Lanna” (vihara hall), calm and soft light was occurred from the “lighting by reflect light” and it was penetrated through the “void” components of it’s diversely architecture. Therefore, the “ideology” influenced to the Viharn Thong “design concept” was subsequently noticed. The initially unique Viharn Lanna was designed in “open air or hall” styles with varied patterns of void. In terms of “formation by natural light defining”, this architectural concept; which could generate that light phenomenon, has been considerably focused as a character of Lanna Thai Architecture identity.

This thesis aims to study the form, proportion and element of the “void” and “Fha Yoi” (architectural elements) ; architecturally composed in the “Viharn Thong Lanna”, which have functionally determined the natural light shedding into  the building. Owing to different forms of each “Viharn Sod’ (overlapped-structure roof) and “stacked base”, the building plan has been vital interesting. Besides, another purpose is to investigate the “Buddhist Cosmology in Theravada” which has closely influenced to the concept of Lanna Buddhist regime creation related to the natural light.

Eventually, this study intends to harmoniously communicate the meaning of “Mahabodhi of Enlightenment” passing through the design guideline, which would practically be the “enlightened space” modernly corresponding to Thai-Lanna society’s context in the future.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES