การศึกษาคติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมหอพระคันธารราษฎร์และพระมณฑปยอดปรางค์ A Study of Concept and Symbolism in the architectural design of Ho Phra Khanthararat & Phra Mondop Yod Prang

Main Article Content

Siridate Wangkran

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เริ่มต้นจากความสนใจในลักษณะพิเศษของรูปแบบสถาปัตยกรรมและความสำคัญของพิธีกรรมของหอพระคันธารราษฎร์และพระมณฑปยอดปรางค์ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สถาปัตยกรรมชุดดังกล่าวถูกอธิบายในเรื่องประวัติ รูปแบบสถาปัตยกรรม และการประดับตกแต่งเป็นหลัก มีเพียงงานศึกษาบางชิ้นที่กล่าวถึงอิทธิพลทางรูปแบบสถาปัตยกรรม แนวความคิดเกี่ยวกับการใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมปรางค์ในรัชกาลที่ 4 และพัฒนาการสถาปัตยกรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม งานศึกษานี้จึงสืบสวนเพื่อไขปริศนาทางสถาปัตยกรรมของหอพระคันธารราษฎร์และพระมณฑปยอดปรางค์ โดยค้นคว้าจากหลักฐานประเภทเอกสาร 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพิธีกรรม 2) กลุ่มประวัติ รูปแบบสถาปัตยกรรมและการบูรณะ และ 3) กลุ่มคติชน โดยศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างคุณค่าความหมายและคติสัญลักษณ์ของพระราชพิธี  พืชมงคลและจรดพระนังคัลและพิธีพรุณศาสตร์ และรูปแบบของโรงพระราชพิธีพรุณศาสตร์ ก่อนเสนอการตีความรูปแบบสถาปัตยกรรมของหอพระคันธารราษฎร์และพระมณฑปยอดปรางค์ การศึกษาพบว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมชุดนี้สะท้อนให้เห็นแนวความคิดของชนชั้นนำและชนชั้นล่างเกี่ยวกับความเชื่อและคุณค่าความหมายที่พวกเขามีต่อพิธีกรรมแห่งความ อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นทั้งความกลมกลืนและความขัดแย้งที่ซ่อนเร้นอยู่ในผังพื้นรูปแบบ องค์ประกอบ และการประดับตกแต่งทางสถาปัตยกรรมของหอพระคันธารราษฎร์และพระมณฑปยอดปรางค์

Abstract

This paper began as its starting point from the special characteristic of Ho Phra Khanthararat & Phra Mondop Yod Prang, and the significance of rites performed in these works of architecture. Previous researches have studied this series of architecture primarily in terms of historical anecdotes, architectural styles, and decoration, whereas only a few studies mention about the stylistic influences, architectural concepts of Prang Architecture in the reign of King Rama IV, and the architectural development of Wat Phra Sri Rattana Sadsa-daram. This research explores the underlying concept of the architecture Ho Phra Khanthararat & Phra Mondop Yod Prang. Drawing upon three types of documents in relation to (1) rites, (2) historical account and architectural styles as well as the restoration of the architecture, and (3) folklore, this research, first, studies the connection between the meaningfulness and symbolism of Royal Ploughing Ceremony and Royal Rainmaking Ceremony, and the form of the House of Royal Rainmaking Ceremony, and then suggests an interpretation of the architecture of Ho Phra Khanthararat & Phra Mondop Yod Prang. The finding is that the architecture of Ho Phra Khanthararat & Phra Mondop Yod Prang reflects the thoughts of Siamese elites as well as those of lower classes about their beliefs and the significance they gave to fertility cults. Such was the harmony and contradiction embedded in the plan, forms, elements and decorations of the architecture Ho Phra Khanthararat & Phra Mondop Yod Prang.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES