พฤติกรรมการเปิดรับชมและความพึงพอใจที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ผศ.ดร. ชื่นสุมล บุนนาค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • นางสาววันนี อับดุลฮานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับชม, ความพึงพอใจ, โทรทัศน์ระบบดิจิทัล, การเปลี่ยนผ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)พฤติกรรมการรับชมที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (2)ความพึงพอใจที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล และ(3)ความสัมพันธ์ของลักษณะประชากรศาสตร์กับความพึงพอใจที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง พบว่า เป็นเพศหญิงจำนวน 290 คน (72.50%) และเพศชายจำนวน 110 คน ( 27.50%) มีพฤติกรรมรับชมดังนี้ กลุ่มตัวอย่าง 46.00 % รู้จักโทรทัศน์ระบบดิจิทัลเพราะได้รับความรู้จากการประชาสัมพันธ์ของกสทช. และ 26.30 % ชอบการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลเนื่องจากคุณภาพและเสียงคมชัด ส่วนใหญ่พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 33.40 % รับชมระบบดิจิทัลผ่านเคเบิลทีวี ด้านข้อมูลการได้รับและการนำคูปองทีวีดิจิทัลไปใช้ พบว่า 34.50 % ได้รับคูปองแล้วและใช้แลกกล่อง Set Top Box ฟรี และ กลุ่มตัวอย่าง 16.20%  ส่วนใหญ่เลือกรับชม 3 HD มากที่สุด รายการที่ชอบชมที่สุด คือ ละคร (23.80%) และกลุ่มตัวอย่างเปิดรับชมทีวีทุกวัน (50.50%) เพศมีผลต่อความพึงพอใจที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในด้านคุณภาพในการรับชม อายุที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในด้านการผลักดันให้เกิดโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของ กสทช. ในส่วนของการแจกคูปองทีวีดิจิทัล การให้ข้อมูลข่าวสารความรู้เกี่ยวกับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของ กสทช. และด้านประเภท/เนื้อหาของรายการ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนา แก้วเทพ.(2547). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา วานิชกรและคณะ. (2552). โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการจัดทำนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัลสำหรับ

ประเทศไทย. กรุงเทพฯ:ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

นที สกุลรัตน์ [ออนไลน์] บทความวิชาการ. สืบค้นจาก https://www.drnatee.com/เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558.

ภาสกร เรืองรองและคณะ (2557) โทรทัศน์ดิจิทัล (Digital Television) วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์,

ปีที่1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557), หน้า 19-38.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน:กระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

สมทบ เติมบุญบารมี. (2557). พฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์ก่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ:เอกสารการประเมินผลผลิตรายการ

อาวุโส สำนักรายการ Thai PBS.

สำนักงานการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2558). กลุ่มเขตกรุงเทพมหานคร.สืบค้นจาก https://www.bangkokeducation.in.th/

article-details.php?id=89เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). (2557). แนวโน้มการให้

บริการทีวีดิจิทัลในปี 2557. สืบค้นที่ : https://bcp.nbtc.go.th/news/detail/1446. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). (ม.ม.ป.) บทความดิจิทัล

ทีวี. สืบค้นที่ https://digital.nbtc.go.th/people.php เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2558) ประกาศแผนการเปลี่ยน

ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล สืบค้นที่ https://www.supinya.com/wp-content/uploads/2013/05

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (กสทช.) (2557). “รู้จักสื่อรู้จัก

สิทธิ.” วารสารสำหรับผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์. ปีที่ 2 เล่มที่ 10 กรกฎาคม – สิงหาคม.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.(2557). สถิติกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://www.bangkok.go.th/upload/user/

/Logo/statistic/stat2557(thai).pdf เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2558.

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5. (2557). การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล. แผนกเทคนิคโทรทัศน์ ทน.ททบ. สืบค้น

จาก https://www.tv5.co.th/technics/tv_digital_in_the_future.html เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิสรีย์ ประดิษฐ์ธีระ. (2555).ความเหลื่อมล้ำของระบบโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบ โทรทัศน์ดิจิทัล

ของประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ปีที่ 18 ฉบับที่ 2

พฤษภาคม 2555 หน้า 199-211.

Katz, E.,J.G. Blumler and M. Gurevitch.(1974). "Uses and gratifications research." Public Opinion Q. 37: 509-523.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The free.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-12-2016

How to Cite

บุนนาค ผ. ช., & อับดุลฮานี น. (2016). พฤติกรรมการเปิดรับชมและความพึงพอใจที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล, 1(1), 644–679. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/119167

ฉบับ

บท

บทความวิจัย