ประกาศเรื่องการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมฯ : ความก้าวหน้าในการคุ้มครองผู้บริโภค (ที่ยังเป็นเพียงการเริ่มต้น)
Abstract
ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมโดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 วัตถุประสงค์ของการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเชิงระบบและป้องกันปัญหาการเอาเปรียบผู้ใช้บริการโทรคมนาคม โดยเนื้อหาของประกาศครอบคลุมลักษณะการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค 5 ลักษณะ คือ
1) การกระทำโดยไม่แจ้งให้ผู้บริโภคทราบรายละเอียดของบริการโทรคมนาคมในแต่ละบริการอย่างชัดเจนและครบถ้วน
2) การกำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการบังคับให้ต้องใช้บริการโทรคมนาคมโดยผู้บริโภคไม่ประสงค์จะใช้บริการ หรือเป็นเหตุให้ต้องแบกรับภาระค่าบริการเพิ่มขึ้น หรือจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้บริการ
3) การโฆษณาในลักษณะเกินจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ
4) การกำหนดเงื่อนไขในการคิดค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม เป็นผลให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
5) การกระทำโดยการโทรศัพท์หรือส่งข้อความการโฆษณามายังเครื่องโทรคมนาคมหรืออุปกรณ์ของผู้บริโภค โดยมิได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากผู้บริโภค
นอกจากนี้ ประกาศยังเปิดช่องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณากำหนดลักษณะของการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีกตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร โดยหากภายหลังที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีการกระทำใดที่เข้าข่ายการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ก็สามารถใช้อำนาจตามประกาศนี้ สั่งระงับการกระทำนั้นได้ทันที และหากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมฝ่าฝืน ก็สามารถสั่งปรับไม่เกิน 5,000,000 บาท โดยมีโทษปรับได้อีกวันละไม่เกิน 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
ดังนั้น ประกาศฉบับนี้จึงมีผลดีและนับเป็นความก้าวหน้าในภารกิจงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยมีผลห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมกระทำผิดซ้ำที่เป็นการ
เอาเปรียบผู้บริโภคในลักษณะเดิมอีก อย่างไรก็ตาม กฎหมายจะไม่ก่อประโยชน์อันใดเลยหากสุดท้ายแล้วไม่มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The Office of the NBTC holds the copyright of articles appearing in the journal. The Office of the NBTC allows the public or individuals to distribute, copy, or republish the work under a Creative Commons license (CC), with attribution (BY), No Derivatives (ND) and NonCommercial (NC); unless written permission is received from the Office of the NBTC.
Text, tables, and figures that appear in articles accepted for publication in this journal are personal opinion and responsibility of the author, and not binding on the NBTC and the Office of the NBTC. In case of errors, each author is solely responsible for their own article, and not concerning the NBTC and the NBTC Office in any way.