Challenges in Spectrum Management

Authors

  • พลอากาศตรี ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ Office of The National Broadcasting and Telecommunications Commission

Abstract

คลื่นความถี่มีคุณค่าและประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชาติและถือว่าเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ   ที่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตามคลื่นความถี่ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติสากลสำหรับทุกคน เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรระหว่างประเทศที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มิใช่เป็นของรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะ แม้ว่าในทางปฏิบัติรัฐแต่ละรัฐจะได้รับประโยชน์จากคลื่นความถี่ไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากปัจจัยทางด้านเทคนิค การเมืองและเศรษฐกิจก็ตาม แต่ภายใต้หลักอำนาจอธิปไตยของรัฐแล้ว รัฐแต่ละรัฐมีสิทธิ  ในการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้คลื่นความถี่ของรัฐอื่นๆ และตราบเท่าที่รัฐนั้นๆ ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยโทรคมนาคมซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการนี้ ซึ่งทาง ITU ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการบริหารจัดการคลื่นความถี่จำเป็นต้องวางแผน จัดสรรและการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ให้ปราศจากการรบกวนซึ่งกันและกัน (Interference) โดยต้องให้มีความสมดุลของการกำกับดูแล ทำให้การบริหารคลื่นความถี่ต้องอาศัยทั้งหลักวิศวกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม สามารถเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทาน (Concession) ไปสู่ระบบใบอนุญาต (Licensing) เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด   

 

Downloads

Published

15-12-2016

How to Cite

หร่ายเจริญ พ. ด. (2016). Challenges in Spectrum Management. NBTC Journal, 1(1), 94–115. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/119396

Issue

Section

Special article