การพัฒนาและทดสอบระบบขับขี่ยานยนต์รับส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี 5G

ผู้แต่ง

  • สรวิศ นฤปิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นักสิทธ์ นุ่มวงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิทยากร อัศดรวิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาณุวัฒน์ จันทร์ภักดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กุลธิดา โรจน์วิบูลย์ชัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พีรพล เวทีกูล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ยานยนต์ไร้คนขับ , ยานยนต์รับส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและเชื่อมต่อ 5G, การใช้งาน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบขับขี่ยานยนต์รับส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่สามารถขับขี่แทนคนได้ในบางสถานการณ์ (อัตโนมัติระดับ 3) และทดสอบการสื่อสารระหว่างยานยนต์อัตโนมัติกับภายนอกด้วยเทคโนโลยี 5G-V2X รวมทั้งทดสอบการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยบนท้องถนน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงทดลอง ผลการพัฒนาและทดสอบระบบขับขี่ยานยนต์อัตโนมัติ พบว่า การระบุตำแหน่งของรถด้วยวิธี NDT มีความแม่นยำ ระบบควบคุมการแล่นอัตโนมัติสามารถเก็บข้อมูลตำแหน่ง ความเร็ว ความเร่ง ทั้งโหมดการขับขี่อัตโนมัติและโหมดมีคนขับได้ สามารถระบุตำแหน่งบนแผนที่ความละเอียดสูงได้แม่นยำและปลอดภัยทั้งระบบควบคุมการวิ่งของรถระดับสูงและระบบควบคุมระดับล่าง ด้านผลการทดสอบการสื่อสารระหว่างยานยนต์อัตโนมัติกับภายนอกในรูปแบบ C-V2X ด้วยเทคโนโลยี 5G พิจารณาจากพารามิเตอร์หลัก 3 ตัว คือ อัตราเร็วในการส่งข้อมูล ความหน่วงเวลา และอัตราการสูญเสียกลุ่มข้อมูล พบว่า การสื่อสารผ่านเครือข่าย 5G มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการทดสอบการใช้งานในโครงการ สำหรับการทดสอบการใช้งาน 5 มอดูลด้านความปลอดภัย ได้แก่ มอดูลตรวจจับอาการง่วงนอน มอดูลนับจำนวนผู้โดยสาร มอดูลสตรีมมิงวิดีโอหลายแหล่งแบบเรียลไทม์ มอดูลแจ้งเตือนการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งเว็บแอปพลิเคชันการจัดการและแดชบอร์ดสำหรับสังเกตการณ์ ซึ่งประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

GPP. (2022, April 1). 3GPP Specification series: 38series (TS 38.215 V16.5.0). https://portal.3gpp.org/desktopmodules/Specifications/SpecificationDetails.aspx?specificationId=3217 5G Automotive Association (5GAA). (2019).

G Automotive Association, Pioneering Digital Transformation in the Automotive Industry. https://5g-ppp.eu/wp-content/uploads/2019/01/2.-5GAA-FLAMENT-5G-vertical-WS_120219.pdf

Hsu, Y.- W., Chen, Y. -W., & Perng, J. -W. (2020). Estimation of the Number of Passengers in a Bus Using Deep Learning. Sensors, 20(8), 2178. https://doi.org/10.3390/s20082178

Jung, C., Lee, D., Lee, S., & Shim, D. H. (2020). V2X-Communication-Aided Autonomous Driving: System Design and Experimental Validation. Sensors (Basel, Switzerland), 20(10), 2903. https://doi.org/10.3390/s20102903

Stork, C. R., & Duarte-Figueiredo, F. (2020). A Survey of 5G Technology Evolution, Standards, and Infrastructure Associated with Vehicle-to-Everything Communications by Internet of Vehicles. IEEE Access, 8, 117593-117614. https://doi.org/ 10.1109/ACCESS.2020.3004779

Trevor, M. (2017, January 23). Driverless buses arrive in Paris. Digital Trends. https://www.digitaltrends.com/cars/paris-driverless-buses/

University of Michigan. (2020). Connected and Automated Research. https://www.umtri.umich.edu/research/expertise/connected-and-automated-research-excellence-at-umtri/

World Health Organization (WHO). (2018). Global Status Report on Road Safety 2018. https://www.who.int/publications/i/item/9789241565684

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-05-2024

How to Cite

นฤปิติ ส., นุ่มวงษ์ น. ., อัศดรวิเศษ ว. ., จันทร์ภักดี ภ. ., โรจน์วิบูลย์ชัย ก. ., & เวทีกูล พ. . (2024). การพัฒนาและทดสอบระบบขับขี่ยานยนต์รับส่งผู้โดยสารอัตโนมัติและเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี 5G . วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล, 8(1), 33–55. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/266889