Thailand’s Labor Mismatch: Contemporary Situations and Solutions
Keywords:
Labor Mismatch, Quantitative Mismatch, Qualitative Mismatch, Vertical Skill Mismatch, Horizontal Skill Mismatch, ปัญหาแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการ, ปัญหาแรงงานเชิงปริมาณ, ปัญหาแรงงานเชิงคุณภาพ, ความไม่สอดคล้องของแรงงานในแนวดิ่ง, ความไม่สอดคล้องของแรงงานในแนวราบAbstract
Working as a human resource manager (HR manager) of multinational corporations (MNC) in Thailand, a developing country in South East Asia, was challenging and intimidating at the same time. Given the country’s vast natural resources and strategic location in the region, the challenging task in running the firm was to not only acquire sufficient numbers of workers for the factory but also recruit the well-equipped engineer and information technology personnel to smoothly operate the production process. While in terms of numbers of workers, Thailand’s unemployment rate for the past decade was lowest among the developed and developing countries (see Exhibit 1), finding the right person for the right job had not been an easy task for the manufacturing sector. This Labor mismatch, a situation in which the employee and employer cannot find a suitable equilibrium of employment, either in terms of quantity and quality of labor, was a common phenomenon in labor economics and human resource management.
For Thailand, the shortages of human resources (both quality and quantity) were symptomatic of more complex problems that urgently needed to be addressed in order for the economy achieve its full potential (Amornvivat, 2013b). Hence, not only was it hard for a human resource manager in a private firm to decide how to solve the labor mismatch problems, but also it was harder for Thai human resource development officers and policymakers responsible for solving the national-level problems. Indeed, the quantitative and qualitative mismatches seen in the Thailand labor market in the manufacturing sector were similar to those faced by both developed and developing countries. Quantitative mismatch referred to the case where there was a low unemployment rate or shortage of labor as reported in the official statistics comprising both the formal and informal labor markets. Qualitative mismatch referred to the situation where there existed either a vertical mismatch or a horizontal mismatch in the labor market. A vertical mismatch existed when labor participating in the job market had either a higher degree of education or lower degree of education than what was required by the job description – that is, either over- or under-education. A horizontal mismatch occurred when labor graduated from one field of study but worked in a job unrelated to that field of study. Labor mismatches of both types, quantitative and qualitative mismatches,
tended to manifest as labor market problems, as well as difficult human resource management challenges. Hence, the policy makers was keen to understand the root causes of this disequilibrium in the labor market, with a view to determining whether existing private-sector human resource practices were likely to be effective over the long term and, if not, how Thai policymakers, alone or in coalition with the private sector, could help alleviate these problems.
บทคัดย่อ
กรณีศึกษานี้ต้องการศึกษาถึงสาเหตุและผลของปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความ ต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทย ประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่มีสภาพปัญหาคล้ายคลึงกัน อาทิ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย และเวียดนาม โดยกรณีศึกษานี้จะ ตอบปัญหาต่างๆ อันได้แก่ การแก้ปัญหาของนายจ้างและรัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร รัฐบาลไทยควรร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งรวมถึงสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจในการแก้ปัญหานี้หรือไม่ และหากรัฐบาลตัดสินใจร่วมกันแก้ปัญหาแล้ว วิธีการในการแก้ปัญหาในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวควรเป็นอย่างไร และการแก้ปัญหาต่างๆ สามารถบรรเทาปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการได้มากน้อยเพียงใด
ปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรมเป็นสถานการณ์ ที่นายจ้างและลูกจ้างไม่สามารถหาความสมดุลของการจ้างงานได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งปัญหาการบริหารจัดการแรงงานเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สำหรับประเทศไทยการขาดแคลนแรงงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีความซับซ้อน และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อทำให้เศรษฐกิจก้าวต่อไปอย่างมีศักยภาพ ทั้งนี้ลักษณะของปัญหาของแรงงานในประเทศไทยในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับปัญหาในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาคุณภาพแรงงานทั้งในระดับแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่างๆ ได้แก่ คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เหมาะสม การจ้างงานนอกระบบ รวมถึงการขาดแคลนระบบประกันสังคม แม้ว่าในตลาดแรงงานจะมีปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แต่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานในระดับต่ำทำให้คนทั่วไปมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงในเรื่องนี้ คือ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าประเทศไทยไม่มีปัญหาด้านแรงงาน หรือเข้าใจว่าปัญหาแรงงานมิใช่ปัญหาที่รุนแรงนัก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงปัญหานี้ และไม่มีการเร่งแก้ไขปัญหา
เท่าที่ควร แม้ว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งผลกระทบที่ทำให้การ
เติบโตทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก หรือผลกระทบที่ทำให้มาตรฐานของผู้ประกอบการและแรงงานใน
ภาคการผลิตต่างๆ ลดลงในอนาคตก็ตาม ในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ ปัญหาคุณภาพแรงงาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเกิดจากคุณภาพของการศึกษาในสถาบันการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งนำไปสู่การที่แรงงานมีทักษะต่ำกว่าที่นายจ้างคาดหวัง ตัวอย่างเช่น ในกรณีของประเทศไนจีเรีย และประเทศเวียดนาม ปัญหาคุณภาพแรงงานสืบเนื่องมาจากการขาดแคลนหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้ ทำให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพต่ำ และบริษัทต้องมีการปรับตัวโดยการว่าจ้างบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีและสารสนทศจากต่างประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานสูงขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาการว่างงานในอัตราที่สูงเกิดจากการที่แรงงานมีการศึกษาสูงกว่าความต้องการ เนื่องจากตำแหน่งงานที่ต้องการแรงงานที่จบการศึกษาระดับสูง และมีทักษะสูงมีจำกัด ทำให้แรงงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงไม่สามารถหางานที่เหมาะสมกับวุฒิการศึกษาและทักษะของตนได้ จึงต้องยอมทำงานที่ต้องการทักษะในระดับต่ำกว่าความสามารถของตน ซึ่งแรงงานก็จะได้รับค่าจ้างในระดับที่ต่ำด้วย ทำให้แรงงานเหล่านี้ขาดโอการในการพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนประสบการณ์ในการทำงาน จากตัวอย่างทั้งในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วข้างต้นพบว่า ผลของปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น และลดความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาในสถาบันการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เนื่องจากการศึกษาในสถาบันการศึกษาไม่สามารถสนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งผลอันเกิดจากปัญหาแรงงานนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการพัฒนาศักยภาพของแรงงานเพื่อให้แรงงานสามารถใช้ศักยภาพของตนให้เต็มที่เป็นอย่างยิ่ง ในตอนท้ายของกรณีศึกษานี้จะกระตุ้นให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ว่า รัฐบาลและภาคเอกชนควรใช้นโยบายและการปฏิบัติเช่นใดเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย นอกจากนี้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทยในปี 2558 ยังนับเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน