Local Administration Journal Volume 12 No.1
Keywords:
Local Administration Vol.12 No.1Abstract
วารสารการบริหารท้องถิ่นฉบับนี้เป็นวารสารปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยบทความวิจัยและบทความวิชาการจำนวน 10 บทความที่ผ่านการประเมินอย่างเข้มข้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญในสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสังคมศาสตร์แขนงอื่น ๆ นอกจากนี้ ในส่วนของวารสารการบริหารท้องถิ่น ทั้ง 2 ฉบับที่ผ่านมายังได้ปรับปรุงคุณภาพวารสารอย่างละเอียดเพื่อรองรับการประเมินจาก TCI ในรอบที่ 4 พ.ศ.2563 - 2567 เร็ว ๆ นี้
บทความแรกในวารสารฉบับนี้คือ บทความ “Towards Gender and Intergenerational Inequalities in the Japanese Social Welfare System” โดย สุริยานนท์ พลสิม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เขียนได้สำรวจและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศและความไม่เสมอภาคระหว่างรุ่นวัยในระบบสวัสดิการของญี่ปุ่น บทความที่สองคือ “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลทุ่งต้อม” โดย ชำนาญ เงินดี นักวิชาการอิสระ และ สักการ ณิยกูล ปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บทความนี้ศึกษาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดังกล่าว บทความที่สามคือ “การจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ” โดย วิสาขา ภู่จินดา และ สิริสุดา หนูทิมทอง จากคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ แม้ชื่อบทความนี้คล้ายคลึงกับบทความก่อนหน้านี้ แต่ต่างกันด้วยวิธีวิทยา โดยผู้เขียนได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามองค์การบริหารส่วนตำบล 100 แห่ง และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีอีก 8 แห่ง บทความที่สี่คือ “รูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐาน” โดย พระมหาไกรสร แสนวงค์ จากวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้เขียนได้ถอดประสบการณ์การรื้อฟื้นวัฒนธรรมชุมชนในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะของคนในชุมชนบ้านป่าเห็ว ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และ บทความที่ห้าคือ “บทวิจารณ์เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก: ศักยภาพและโอกาสการลงทุน” โดย วินยาภรณ์ พราหมณโชติ จากภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ผู้เขียนได้ศึกษาถึงบริบทของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในมิติของการลงทุนระหว่างประเทศ
บทความที่หกคือ “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอุทกภัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี” โดย อรทัย เลียงจินดาถาวร และคณะ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผู้เขียนได้กล่าวถึงการจัดการอุทกภัยทั้งก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัยและหลังเกิดภัยของพื้นที่อำเภอวารินชำราบ บทความที่เจ็ดคือ “การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการรู้ดิจิทัล ของนักศึกษาวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น” โดย ณัฐพงษ์ วัฒนบุตร จากหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และ อนุชา โสมาบุตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการรู้ดิจิทัล และความคิดเห็นต่อสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายของนักศึกษาวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทความที่แปดคือ “ความพร้อมในการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลศิลาทิพย์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี” โดย สุริยะ หาญพิชัย จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ผู้เขียนระบุว่า องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาทิพย์มีความพร้อมในการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลในระดับสูงมาก บทความที่เก้าคือ “การสร้างความหมายใหม่ในเขตป่าเขาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: กรณีศึกษามณฑลพายัพของสยาม” โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ทางกายภาพและการให้ความหมายของเขตป่าเขาในมณฑลพายัพ และ บทความที่สิบคือ “การบริหารจัดการวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดลำพูน” โดย พระอธิการจรัล อภินนฺโท (สิงห์น้อย) จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งศึกษาและวิเคราะห์การบริหารจัดการวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดลำพูน
สำหรับบทปริทัศน์หนังสือในวารสารฉบับนี้ กตัญญู แก้วหานาม จากสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ทำการปริทัศน์หนังสือเรื่อง “มองประชาธิปไตย : ประสบการณ์จากต่างแดน” ผู้แต่งคือ ดร. ถวิลวดี บุรีกุล สถาบันพระปกเกล้า ทางกองบรรณาธิการต้องขอขอบคุณผู้ปริทัศน์หนังสือไว้ ณ ที่นี้ด้วย
Additional Files
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.