ปัจจัยที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตประชาชนสองฝั่งโขง มองผ่านมิติการค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • กชกร เดชะคำภู คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คงฤทธิ์ กุลวงษ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

วิถีชีวิต แม่น้ำโขง การค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม นโยบายภาครัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตประชาชนสองฝั่งโขง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตประชาชนสองฝั่งโขง ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน  ในการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากประชาชนสองฝั่งโขงจำนวน 400 ราย ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนสองฝั่งโขง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกรรมกร และ สามล้อรับจ้าง ในจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน อำเภอท่าอุเทน และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม รวมทั้งสิ้น 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

ผลการวิจัย พบว่า  สภาพวิถีชีวิตประชาชนชนสองฝั่งโขงโดยรวมอยู่ในระดับสูง ด้านที่มีการรับรู้สูงสุด คือ ด้านการสร้างโอกาสในการทำงานและการสร้างรายได้ โดยมิติการค้าชายแดนส่งผลต่อวิถีชีวิตประชาชนสองฝั่งโขงสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของการค้าชายแดนมีมาช้านานไม่ใช่เพื่อการพึ่งพาสินค้าระหว่างกัน และเหตุผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นผลมาจากความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และการมีประเพณีร่วมกันประกอบประเทศไทย และลาว ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจมาสู่ระบบตลาดเสรี มีการส่งเสริมพัฒนาพื้นที่ชายแดนอย่างต่อเนื่องทำให้การค้าชายแดนไม่เคยขาดหายไปส่งผลให้มีสินค้าอุปโภคบริโภค เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนสองฝั่งโขง

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-09-24

How to Cite

เดชะคำภู ก., & กุลวงษ์ ค. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตประชาชนสองฝั่งโขง มองผ่านมิติการค้าชายแดน ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และนโยบายภาครัฐ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(3), 91–105. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/147076