การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

คำแนะนำผู้แต่ง

หลักเกณฑ์การนำเสนอบทความวิชาการหรือบทความงานวิจัยเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารการบริหารท้องถิ่น

1. วารสารจะให้ความสนใจและพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมใหม่ อย่างน้อยใน มิติใดมิติหนึ่งดังต่อไปนี้ อันได้แก่
                  1.1 มีความคิดริเริ่มทางด้านระเบียบวิธีและการออกแบบงานวิจัย
                  1.2 มีข้อคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งใหม่ ๆ เชิงทฤษฎี
                  1.3 มีการค้นพบนวัตกรรมทางการบริหารใหม่ ๆ
2. กองบรรณาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาบทความ กองบรรณาธิการจะทำการคัดเลือกโดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
                 2.1 การใช้ภาษาและการเขียนที่มีความสละสลวย มีโครงสร้างของบทความที่ถูกต้อง ตามหลักการเขียน
                 2.2 มีความเหมาะสมของระเบียบวิธีวิจัย มีการอ้างอิงและสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่
                 2.3 ผลงานที่ศึกษามีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม
3. บทความที่ส่งมาต้องมีลักษณะเป็นความเรียงเพื่อเสนอผลการปริทัศน์งานวิจัยที่มีเค้าโครงการดำเนินเรื่องที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ของบทความอย่างชัดเจน และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน
4. บทความต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้
                 4.1 ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และชื่อ นามสกุลผู้เขียนและหน่วยงานที่สังกัดทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่อง (Title) ให้เป็นภาษาไทยก่อนใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
                 4.2 มีบทคัดย่อภาษาไทยที่มีความยาวไม่เกิน 350 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่มี ความยาว ไม่เกิน 350 คำ และต้องเป็นบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่มีความถูกต้องตาม หลักโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องระบุผลการศึกษาด้วย
                 4.3 คุณวุฒิสูงสุด ตำแหน่งการทำงาน และหน่วยงานที่สังกัดของผู้เขียนทุกคน
                 4.4 คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                 4.5 เนื้อหาของบทความ ประกอบด้วยหัวข้อ อันได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ในการวิจัย (ถ้ามี) แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ (ถ้ามี) การทบทวนวรรณกรรมหรืองานวิจัยใน อดีตที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีการวิจัย กรอบแนวความคิดการวิจัย ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลกิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ทั้งในเนื้อ เรื่องและเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

                4.6 ต้นฉบับต้องมีความยาวไม่เกิน 6,000 คำ (ราว 15 หน้ากระดาษ ขนาด A4) โดยใช้ฟอนต์ Sarabun ขนาด 14 และ 12 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมบันทึกไฟล์บทความที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word (*.doc หรือ *.docx) หรือใช้เทมเพลตของวารสารเพื่อจัดเตรียมบทความ
                4.7 บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) ต้องประกอบด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่ พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า และรูปภาพหน้าปกของหนังสือ โดยผู้ ปริทัศน์สามารถเขียนด้วยความยาว ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 พร้อมบันทึกไฟล์ บทความที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word (*.doc หรือ *.docx)
                4.8 การอ้างอิง ให้ใช้รูปแบบ APA (6th Edition) เป็นมาตรฐาน โดยสามารถดูตัวอย่าง วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิงที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ APA เวอร์ชัน 6 https://www.apastyle.org หรือบทความที่เผยแพร่ในเวบไซต์ ตั้งแต่ ปีที่ 10 เป็นต้นมา
                4.9 การเขียนเอกสารอ้างอิงที่เป็นของคนไทยจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ  แปลเฉพาะรายการอ้างอิงของคนไทยของส่วนแรก และเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้าย (โดยสามารถดูตัวอย่างในท้ายรายการนี้)

               4.10 (1) ชื่อภาพและข้อความในภาพต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด พร้อมระบุที่มา ชื่อ(2) ตารางและข้อความในตารางต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด


                4.11 การส่งบทความสามารถส่งผ่านระบบออนไลน์ได้ที่
https://www.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals
5. วารสารการบริหารท้องถิ่น ไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์บทความ แต่หากท่านทำผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งท่านจะถูกเรียกจะเก็บค่าใช้จ่าย จำนวน 1,500 บาท (สำหรับบทความภาษาไทย) และ 3,000 - 4,500 บาท (สำหรับบทความภาษาอังกฤษ) ใน 2 กรณี ต่อไปนี้
               5.1 ตรวจพบภายหลังว่า บทความวิชาการ/บทความวิจัย ที่ส่งเข้ามาขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารการบริหารท้องถิ่นเคยตีพิมพ์ที่วารสารอื่น หรือถูกส่งไปยังวารสารอื่นเพื่อขอรับการตีพิมพ์
               5.2 ผู้เขียนขอถอดบทความ กรณีไม่ต้องการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิหรือต้องการส่งไปขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ยังวารสารอื่น

6. ในการ submit บทความ กรุณาใส่ข้อมูล ชื่อ สกุล สังกัด และอีเมล์ของผู้แต่งให้ครบทุกท่านด้วย 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
1. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้การอ้างอิงระบบนามปี โดยกำหนดดังนี้

1.1 หากชื่อผู้แต่งอยู่หน้าข้อความที่อ้างถึง ให้ใช้ ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์)
เช่น Kamnuansilpa (2006)
1.2 หากชื่อผู้แต่งอยู่ท้ายข้อความที่อ้างถึง ให้ใช้ (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์)
1) กรณีผู้แต่ง 1 คน ให้เขียนเป็น (ชื่อผู้เขียน, ปีพิมพ์)
เช่น (Kamnuansilpa, 2006)
2) กรณีผู้แต่ง 2 คน ให้เขียนเป็น (ชื่อที่ 1 และชื่อที่ 2, ปีพิมพ์)
เช่น (Kamnuansilpa & Wongthanavasu, 2006)
3) กรณีผู้แต่ง 3-5 คน ให้เขียนเป็น (ชื่อที่ 1,ชื่อที่ 2, และชื่อที่ 3, ปีพิมพ์)
เช่น 
(Kamnuansilpa, Wongthanavasu, & Sudhipongpracha, 2014)
4) กรณีผู้แต่งมากกว่า 5 คน ครั้งแรกให้เขียนชื่อผู้เขียนทั้งหมด และครั้งต่อไปให้ เขียนเป็น (ชื่อผู้เขียนคนที่ 1 และคณะ, ปีพิมพ์) หรือ (last name of 1st author et al, publish year)
เช่น 
(Kamnuansilpa et al., 2004)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ใช้รูปแบบ APA (6th Edition)
2.1 หนังสือ

Lamoureux, M. (2013). Internal controls handbook: The power sector and NERC compliance. North Charleston: Create Space Independent Publishing Platform.

2.2 บทความในวารสาร

เช่น 

Khamtat, S. & Lowatcharin, G. (2018). Police decentralization: A study of police officers’ attitudes in Khon Kaen Province. Local Administration Journal, 11(1), 41-56. (in Thai)


Dhillon, J.K. (2001). Challenges and strategies for improving the quality of information in a university setting: A case study. Total Quality Management, 12(2), 167-177.

2.3 บทความจากหนังสือพิมพ์

Kamnuansilpa, P. (2015, June 20). Lottery reform is running out of chances. Bangkok Post, p. 9.

2.4 แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์

เช่น
CNN Wire Staff. (2011). How U.S. forces killed Osama bin Laden. Retrieved May 3, 2011, from https://www.cnn.com/2011/WORLD/asiapcf/ 05/02/bin.laden.raid/ index.html.

Teeravakin, L. (2009, May 13). Role of business persons in politics. Retrieved from https://mgronline.com/daily/detail/9520000053345 (in Thai)

 

2.5 วิทยานิพนธ์ หรือ รายงานการค้นคว้าอิสระ

  1. วิทยานิพนธ์

5.1 วิทยานิพนธ์แบบรูปเล่ม

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์
//////// ปริญญามหาบัณฑิต หรือ master’s thesis)./สถานที่พิมพ์./ชื่อสถาบัน.

เช่น

Sanyakul, A. (2017). A Study of Violent Situations, Peace Negotiation and Appropriate Pattern of Government Organizations for the Southern Border Provinces: A Case Study of Attitude of Local Leaders in Pattani Province. (master’s thesis). Prince of Songkla University, Songkla, Thailand. (in Thai)


5.2 วิทยานิพนธ์ฐานข้อมูลออนไลน์

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์
//////// ปริญญามหาบัณฑิต หรือ master’s thesis)./สถานที่พิมพ์./ชื่อสถาบัน. สืบค้นจาก หรือ Retrieved from
//////// http://www.xxxxxxxxx

Author Last Name, Initials. (Year). Title Thesis Or Dissertation (Thesis or Master’s dissertation). Retrieved from http://WebAddress

Author - last name, initial(s). (Year of preparation of thesis). Title of thesis – italicised (Doctoral dissertation or master's thesis, Institution, Location). Retrieved from http://www.xxxxxx

Yohana, J. B. (2020). Influence of Force Account Procurement Method on Performance of Construction Project In Tanzania. (master’s thesis). The Open University of Tanzania, Dar es Salaam, Tanzania. Retrieved from http://www.xxxxxx


2.6 รายงานการวิจัย

เช่น 

Krachangchom, S., Boonyanupong, S., Uttharat, S., & Poonsukcharoen, N. (2015). Final report for The study on the mechanism and the criteria of land use management of border region township for the purpose of supporting the ASEAN Economic Community (AEC): a case study Chiang Khong District, Chiangrai Province. Chiang Mai University. (in Thai)

2.7 กฎหมาย ราชกิจจานุเบกษา

National Education Act. (1999, 19 August). Royal Gazette. Issue 116 Section 74a. P 1. (in Thai)

 

  • การอ้างอิงในเนื้อหา (In-Text Citation) ขอให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยขอให้ใช้นามสกุลและปี ค.ศ. ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปแบบเดิม “การกระจายอำนาจเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยจากฐานราก (พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, 2560)”

ขอให้แก้เป็น “การกระจายอำนาจเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยจากฐานราก (Kamnuansilpa, 2017)” และให้ทำในรายการอ้างอิงทุกรายการให้ครบถ้วน

  • การอ้างอิงในส่วนท้าย (References) เอกสารอ้างอิงที่นำเสนอในส่วนท้ายขอให้ตัดรายการอ้างอิงภาษาไทยออก แต่ให้แปลรายการอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษพร้อมใส่ วงเล็บ (in Thai) และคงรายการภาษาอังกฤษพร้อมเรียงลำดับตัวอักษร (ดังตัวอย่าง)
  • ชื่อภาพและข้อความในภาพต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด พร้อมระบุที่มา
  • ชื่อตารางและข้อความในตารางต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

การนำเสนอภาพและตาราง แบบเดิม

ภาพที่ 1. กรอบแนวคิดการวิจัย

ภาพที่ 2. แผนภูมิแท่งแสดงค่าคะแนนสอบ

ตารางที่ 1. จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

ตารางที่ 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน

การนำเสนอภาพและตาราง แบบใหม่

Figure 1. Conceptual Framework

Figure 2. Bar chart of Score Test

Table 1. Sampling Size

Table 2. Community Data Analysis

 

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง (References)

Khamtat, S. & Lowatcharin, G. (2018). Police decentralization: A study of police officers’ attitudes in Khon Kaen Province. Local Administration Journal, 11(1), 41-56. (in Thai)

Tiebout, C. (1956). A Pure Theory of Local Expenditures. Journal of Political Economy, 64(5), 416-424.

Uchimura, H. (2012). Fiscal decentralization and development: Experiences of three developing countries in Southeast Asia. New York: Palgrave Macmillan.

Yin, R. K. (2014). Case study research: Design and methods (5th ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE Publications

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล์ที่บันทึกในเว็บไซต์นี้จะใช้เพื่อการดำเนินงานของวารสารเท่านั้น และจะไม่ได้นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดหรือนำไปให้บุคคลอื่น