รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแวง ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
รูปแบบ ศูนย์การเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแวง ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน ครู จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และนักเรียน จำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ พบว่า มี 1 รูปแบบซึ่งมีความตรงและความเหมาะสมมาก มีกลยุทธ์การพัฒนานักเรียน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มรักป่า และกลุ่มกตัญญูรู้คุณ 2) ระดับผลการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ พบว่า กลุ่มเพาะเห็ด มีผลการปฏิบัติงานสูงสุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มกตัญญูรู้คุณ ตามลำดับ 3) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ พบว่า ผู้ที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือผู้ปกครองนักเรียน รองลงมาได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน ตามลำดับ
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและบทความออนไลน์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น