บทเรียนและทิศทางใหม่ในการเคลื่อนไหวสิทธิที่ดินในอีสาน: ข้อเสนอต่อเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน

ผู้แต่ง

  • อลงกรณ์ อรรคแสง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ขบวนการเคลื่อนไหว สิทธิในที่ดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำจากปัญหาการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินของชาวบ้านในอีสาน 2) เพื่อถอดบทเรียนของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิที่ดินโดยเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานและนำเสนอทิศทางใหม่จากการเชื่อมโยงช่องว่างของการเคลื่อนไหวที่ผ่านมา ศึกษาผ่าน 4 พื้นที่ 3 กรณีพิพาท ได้แก่ 1) กรณีพิพาทจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนชุมชน 2) กรณีพิพาทจากการประกาศที่สาธารณประโยชน์ทับซ้อนชุมชน และ 3) กรณีพิพาทจากการประกาศสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ทับซ้อนชุมชน โดยชุมชนที่มีกรณีพิพาทนี้ร่วมกันเคลื่อนไหวในนามของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)  ผลการวิเคราะห์พบว่าชาวบ้านเผชิญกับความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและวัฒนธรรม ทางสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ และความเหลื่อมล้ำของความรู้  เมื่อวิเคราะห์บทเรียนการเคลื่อนไหวของ คปอ. ที่ผ่านมามีช่องว่างหลายมิติ ได้แก่ มิติยุทธศาสตร์ พบว่าการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดของเครือข่ายเน้นไปที่ยุทธศาสตร์ที่เชิงสัญลักษณ์เป็นหลัก  มิติการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรใหม่ พบว่ายังไม่มีผลที่เป็นรูปธรรม  มิติแนวร่วม พบว่าการใช้สื่อและเข้าถึงสื่ออยู่ในวงจำกัด และมิติสุดการมุ่งปรับระเบียบกฎเกณฑ์ที่เป็นอยู่ พบว่าไม่บรรลุผลเพราะขาดโอกาสที่เท่าเทียมในการมีส่วนร่วม

เผยแพร่แล้ว

2018-06-20

How to Cite

อรรคแสง อ. (2018). บทเรียนและทิศทางใหม่ในการเคลื่อนไหวสิทธิที่ดินในอีสาน: ข้อเสนอต่อเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 11(2), 72–95. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/130491