แนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนด้วยโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางราง กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลายศูนย์กลาง, ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ, การประเมินโครงข่ายเมืองบทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาแบบการกระจายความเป็นศูนย์กลางถูกใช้เป็นแนวทางการวางแผนการพัฒนาชุมชนชานเมืองและรอบกรุงเทพฯ ให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบมีศูนย์ชุมชนหลายศูนย์ (Polycentric Development) ด้วยการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เกิดการเชื่อมต่อแบบบูรณาการที่สามารถช่วยเชื่อมโยงระบบโครงข่ายคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑลระหว่างระบบหลักและระบบรอง การศึกษานี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของเมือง ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหนาแน่น การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง เป็นต้น เพื่อประเมินระบบของเมืองศูนย์กลางตามลำดับชั้นต่าง ๆ อันเอื้อต่อการคาดการณ์และสร้างแผนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเชิงพื้นที่ รวมถึงประเมินการเชื่อมโยงพื้นที่ศูนย์กลางเมืองแต่ละประเภทด้วยการประเมินโครงข่ายเมือง (Urban Network Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ระบบขนส่งทางรางเป็นระบบขนส่งสาธารณะหลักที่ถูกวางแผนและพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดปทุมธานีให้เกิดประสิทธิภาพทั้งส่วนของการพัฒนาเมืองและและโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดความยั่งยืน โดยจะต้องมีแผนการพัฒนาระบบขนส่งรอง (Feeder) ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาในการเสนอแนะแนวทางการเชื่อมโยงศูนย์กลางของพื้นที่เมืองให้สามารถส่งเสริมการพัฒนาเมืองหลายศูนย์กลางให้เกิดเป็นแนวทางการพัฒนากรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างยั่งยืน
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและบทความออนไลน์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น