ปัญหาทางกฎหมายในกระบวนการพิจารณาคดีความ รับผิดทางการแพทย์(Legal Problems in the Medical Liability Litigation)
Keywords:
Legal problems(ปัญหาทางกฎหมาย), Court proceedings(การพิจารณาคดี), Medical liability(ความรับผิดทางการแพทย์)Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในกระบวนการพิจารณาคดีความ รับผิดทางการแพทย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการศึกษาเอกสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์ ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย ผู้พิพากษา นักกฎหมาย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยจำกัดการศึกษาเฉพาะคดีแพ่ง ผลการวิจัยพบว่า คดีความรับผิดทางการแพทย์เป็นความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 คือ กรณีแพทย์กระทำเวชปฏิบัติโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ส่งผลให้ผู้ป่วยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ไม่หายจากโรค ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต และพบว่ากระบวนการพิจารณาคดี ความรับผิดทางการแพทย์ยังมีปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ ปัญหาพยานผู้เชี่ยวชาญ ความรู้ความเข้าใจด้านการ วินิจฉัยและรักษาทางการแพทย์ของศาล คุณสมบัติผู้พิพากษา ปัญหาภาระการพิสูจน์ ปัญหาฟ้องเคลือบคลุม ปัญหาค่าสินไหมทดแทน และปัญหาตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 การวิจัยนี้จึงได้ เสนอแนวทางพัฒนาในการพิจารณาคดีความรับผิดทางการแพทย์ เช่น การกำหนดคุณสมบัติของพยาน ผู้เชี่ยวชาญให้ชัดเจน และการใช้หลักภาระการพิสูจน์ตามหลัก Res ipsa loquitur เป็นต้น
This qualitative research aimed to study legal problems in medical liability litigation procedures. Data were collected by in-depth interview and documentary research. Subjects were doctors, patients or caregivers, judges and lawyers. Data were analyzed by using content analysis. The scope of this study was limited to civil cases. This study found that the civil medical liability lawsuits in Thailand are covered by section 420 of the Civil and Commercial Code if the doctor intentional or negligent practice caused patients unnecessary charges, immedicable from disease, disability or death. This study also found that the medical liability litigation has the following problems: expert witness, the understanding of diagnosis and medical treatment of the court, qualifications of the judges, burden of proof, disjunctive allegation, compensation’s problem, and problems from Consumer Case Procedure Act, B.E. 2008. This study recommended guidelines to improve the medical liability litigation such as, defining the qualifications of expert witness, and applying the burden of proof according to the principle of Res ipsa loquitur.