ผลการใช้รูปแบบการสอนการตั้งปัญหาเสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหา และการเขียนบันทึกการเรียนรู้ต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
Problem solving abilities(ความสามารถในการแก้ปัญหา), Writing abilities(ความสามารถในการเขียน), Journal writing(บันทึกการเรียนรู้)Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถ ในการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการตั้งปัญหาเสริมด้วยกระบวนการ แก้ปัญหาและการเขียนบันทึกการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผน การวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการ จัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการเขียน ทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.40 คิดเป็นร้อยละ 35.61 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.69 คิดเป็นร้อยละ 77.15 ความสามารถในการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.19 คิดเป็นร้อยละ 30.32 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.91 คิดเป็นร้อยละ 70.02 เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเขียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
The purposes of this research were to study and compare mathematicalproblem solvingabilities and writing abilities of students before and after learning using problem posing model supplemented with problem solving process and journal writing. This study was conducted by One Group Pretest - Posttest Design. The research instruments were lesson plans, problem solving abilities test and mathematical writing abilities test. The research findings were as follows: the students’ pretest and posttest mean scores of mathematical problem solving abilities were 11.40 or 35.61 percent and 24.69 or 77.15 percentrespectively. The students’ pretest and posttest mean scores of mathematical writing abilities were 8.19 or 30.32 percent and 18.91 or 70.02 percent respectively. The students’ posttest of mathematical problem solving abilities and writing abilities was higher than that of the pretest.