การสำรวจการแสดงแทนความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการแสดงแทนความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็นในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ผู้วิจัยจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการ แบบเปิดตามแนวคิดของ Inprasitha [1] วิเคราะห์ข้อมูลการแสดงแทนความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ตามกรอบแนวคิดของ Sierpinska [2] ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ ข้อมูลในรูปโพรโทคอลที่ได้จากการถอดคำพูดจากเครื่องบันทึกเสียงและเครื่องบันทึก วีดิทัศน์ในระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมการแก้ปัญหาและภาพผลงานที่เป็นงานเขียนของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า การแสดงแทนความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่องความน่าจะเป็น มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การระบุ นักเรียนพยายามนำความรู้หรือวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่เคยเรียนรู้มาก่อนที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เผชิญอยู่มาใช้ในการเรียกชื่อเพื่อนำมากำหนดแนวคิดในการหาจำนวนวิธีทั้งหมดที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ 2) การจำแนก นักเรียนนำข้อมูลหรือนำเงื่อนไขในสถานการณ์ปัญหาที่ครูกำหนดให้ มาใช้ในการค้นหาแนวคิดในการแก้ปัญหาและนำแนวคิดในการแก้ปัญหาดังกล่าวมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และนักเรียนมีการสังเกตแนวคิดของตนเองและระหว่างแนวคิดของเพื่อนเพื่อหาแนวคิดที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา และ 3) การทำให้เป็นกรณีทั่วไป นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยพบเจอมาก่อน หรือจากสถานการณ์เริ่มต้นที่ครูกำหนดให้มาใช้ในการคิดหาผลลัพธ์ในสถานการณ์ที่เป็นกรณีทั่วไป หรือมาใช้ในการคาดเดาผลลัพธ์ว่าจะเกิดผลลัพธ์อะไรต่อไปอีก
This study was aimed to explore act of understanding mathematical of grade11 students on the topic of probability in the classroom using Open Approach. The target group was 2 groups of 3 people of grade 11 students at Satrirachinuthit School in the academic year 2015. They are divided into two groups. The classroom teaching was Open Approach according to Inprasitha [1]. These data were analyzed in act of understanding mathematical
according to Sierpinska [2]. Data analysis was based on the protocol data gathered from the transcription of the audio and video recording during student’s solving problems activity and photography of the students’ work. The study results showed that Students’ Act of Mathematical Understanding as following; 1) Identification, students try to apply knowledge or students apply the data or condition in problem situations which teacher assigned to used in finding an ideas in mathematics method was already learning and involved in problems situation which to confront for to use calls the identify for apply assign an ideas in find the total number of possible ways of an event can occur. 2) Discrimination, problems solving and apply an ideas in problems solving as said above to compare for find the difference between an ideas in problems solving and the students have observation between own an idea and an ideas of their friends is most opportune for problems solving. And 3) Generalization, students apply the data which from problems solving in problem situations when used to experience before or basic situation by the teacher assigned to used in finding the result in generalization or predict what the next result.