ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน RSPO ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
เกษตรกรรายย่อย, มาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน, สุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม RSPO ของเกษตรกรรายย่อย 2) ศึกษาการผลิตปาล์มน้ำมัน การจัดการสวนปาล์มน้ำมันและผลผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรรายย่อย 3) ประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรรายย่อย 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรรายย่อย และ 5) ศึกษาปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรรายย่อย โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรรายย่อยสมาชิกกลุ่มที่ได้รับรองมาตรฐาน RSPO ก่อนปี 2560 ในจังหวัด
สุราษฎร์ธานี จำนวน 247 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคเรียงลำดับ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีประสบการณ์การทำสวนปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 18.94 ปี มีรายได้จากการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 382,086 บาทต่อปี เกษตรกรเข้าร่วมกลุ่ม RSPO มาแล้วเฉลี่ย 3.28 ปี เกษตรกรสมาชิกร้อยละ 22.3 ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกลุ่มด้วย เกษตรกรสมาชิกร้อยละ 91.7 ขายผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ในราคาที่สูงกว่าเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิก 0.10 - 0.20 บาท/กก. เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 36.5 ไร่ ต้นปาล์มน้ำมันมีอายุเฉลี่ย 15.25 ปี เกษตรกรเพียงร้อยละ 13.4 ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 42.0 วางทางใบกระจายคลุมพื้นที่ทั้งสวน และได้ผลผลิตเฉลี่ย 3,038.54 กก./ไร่/ปี เกษตรกรร้อยละ 26.3 ปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ได้ในระดับมาก และเกษตรกรร้อยละ 21.5 ประสบปัญหาความไม่ชัดเจนในการคัดคุณภาพรับซื้อทะลายปาล์มน้ำมันของโรงงานสกัดเครือข่าย สำหรับปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรในระดับมากมี 3 ปัจจัย คือ 1) การมีตำแหน่งในกลุ่ม RSPO (α=0.1) 2) ราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม (α=0.01) และ 3) จำนวนครั้งสะสมในการเข้าร่วมอบรมตามหลักสูตรที่กลุ่มจัด (α=0.01) แต่มี 2 ปัจจัยที่ส่งผลทางลบ คือ 1) ประสบการณ์การทำสวนปาล์มน้ำมัน (α=0.01) และ 2) สัดส่วนรายได้จากการทำสวนปาล์มน้ำมันต่อรายได้ครัวเรือนในรอบปี (α=0.01) ส่วนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมดที่ถือครองส่งผลทางลบต่อการปฏิบัติตามมาตรฐาน RSPO ของเกษตรกรในระดับน้อย (α=0.1)
References
Available from: http://www.natres.psu.ac.th/researchcenter/Palm-Research/
menu/pic-paper/56-teerapong-palm2.pdf. Thai.
2. Department of Internationl Economic Affairs. The future of palm oil in the EU
market [Internet]. 2019 [updated 2019 Jan 1; cited 2019 Dec 21].
Available from: https://globthailand.com/eu_0012/. Thai.
3. RSPO. MEMBERS [Internet]. 2019 [updated 2019 Jan 1; cited 2019 Aug 3].
Available from: https://rspo.org/members/page/2?keywords=&member_type=
Ordinary+Members&member_category=Oil+Palm+Growers&member_country=
Thailand.
4. Office of Agricultural Economics. Agricultural production information [Internet].
2019 [updated 2019 Jan 6; cited 2019 Aug 8]. Available from: http://www.oae.go.th/
assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/oilpalm60.pdf. Thai.
5. Thongrak S, Kiatpathomchai S. Challenges of Thai Smallholders smallholders
in Sustainable Oil Palm Production [Internet]. 2015 [updated 2015; cited 2019 Aug 8].
Available from: https://rdo.psu.ac.th/th/index.php/recommend/749-palm. Thai.
6. Banchasri S, Jaisamot P. Efficiency of sustainable oil palm production by the
standard of roundtable on sustainable palm oil for smallholders in Thailand.
Phatthalung: Thaksin university; 2013. Report No.: 04-6/2557. Thai.
7. Sungkhara K, Sirisupalak P, Bunyasiri I. The impact of smart farming practice
on oil palm efficiency of small holders in Surat Thani. Proceedings of the 5th National
Academic Conference on Agricultural Economics Resource Economics Food Economics
and Agribusiness;2016 Jul 15 23-30; Bangkok. Nonthaburi: Sansuay Part., Ltd.; 2016. Thai.
8. Thongrak S, Kiatpathomchai S, Jantaraniyom T. Development of Smallholders through
Participation in Sustainable Oil Palm Production according to GAP&RSPO. Songkhla:
Agricultural research development agency (public organization); 2015 Report No.:
PRP5905020300. Thai.
9. Nawa Chi One Foundation. Sustainable Agriculture [Internet]. 2012
[updated 2012 Oct 29 ; cited 2019 Jun 6]. Available from: www.nawachione.
org/2012/10/29/sustainable-agriculture/#sustain-agri-02 . Thai.
10. Department of Agriculture Extension. Sustainable agriculture according
to the sufficiency economy [Internet]. 2017 [updated 2017 ; cited 2019 Jun 6].
Available from: https://esc.doae.go.th/wpcontent/uploads/2018/11/%E0%B9%80%
E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%
B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%
A2%E0%B8%B7%E0%B8%99.pdf. Thai.
11. Seniang P. Extension of Sustainable Agriculture. [Internet]. 2012
[updated 2012 May 1 ; cited 2019 Jul 5]. Available from: http://agext.agri.
kps.ku.ac.th/document/Panjit413%20Sustainable%20Agriculture.pdf. Thai.
12. Smallholder Working Group. RSPO Principles & Criteria for the Production
of Sustainable Palm Oil [Internet]. 2014 [updated 2014 Mar 1; cited 2017Aug 25].
Available from: https://rspo.org/publications/download/21166d875d3ae05
13. National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. God agricultural
practices for oil palm [Internet]. 2010 [updated 2010 Dec 21 ; cited 2019 Jun 6].
Available from: https://www.acfs.go.th/standard/download/GAP_oil_palm.pdf. Thai.
14. Kaiyawan Y. Principleand Using Logistic Regression Analysis for Research.
RMUTSV Research Journal. [Internet]. 2012 [updated 2012 Jan 1 ; cited 2017Aug 2] :
1-12. Available from: http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/year4-issue1-2555/
p1.pdf. Thai.
15. Satsue P, Phitthayaphinant P. Perceptions on Impacts and Adaptation
Practices of Para Rubber Smallholders and Industries from Participating
ASEAN Economic Community - A Case Study in Songkhla Province.
Songkhla: Thailand Science Research and Innovation; 2017.RDG592008.
Thai.
16. Ruentip W. Factors affecting the decision to participate in Good
Agricultural Practice of Thai orchid smallholders [Master Degrees].
Bankkok: Kasetsart University; 2013. Thai.
17. Chalil D. Assessment of smallholders' barriers to adopt sustainable
practices: Case study on oil palm (Elaeis Guineensis) smallholders'
certification in North Sumatra, Indonesia. Cases on the Diffusion and
Adoption of Sustainable Development Practices. 2013. 439-467. 10.4018/
978-1-4666-2842-7.ch016.