อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในการนำเสนอชายรักชายในนวนิยายแปลจีน

ผู้แต่ง

  • YUANYUAN TU Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University
  • Dr.Itsarate Dolphen Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ การนำเสนอภาพชายรักชาย นวนิยายแปลจีน Keywords: conceptual metaphors, The presentation of MSM, Chinese translated novels

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในการนำเสนอภาพชายรักชายในนวนิยายแปลจีน โดยใช้แนวคิดชายรักชาย (Male Homosexual) และแนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ (Conceptual Metaphor) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในการนำเสนอภาพชายรักชายในนวนิยายแปลจีน ผลการวิจัยพบว่าภาพที่นำเสนอชายรักชายในนวนิยายชายรักชายแปลจีนโดยใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ มีทั้งหมด 5 ภาพ และผู้เขียนได้จำแนกภาพเหล่านี้เป็น 2 ด้าน คือ 1. การใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์นำเสนอภาพชายรักชายในด้านลบ พบทั้งหมด 4 ภาพ ได้แก่ 1) ภาพที่แสดงความรักของตัวละครชายรักชายคือความทุกข์ ได้นำเสนอมโนทัศน์ว่า [การกระทำและคำพูดของชายรักชายคือมีด] 2) ภาพที่แสดงความรักของตัวละครชายรักชายคือการต่อสู้ ได้นำเสนอมโนทัศน์ว่า [ความรักของชายรักชายคือการต่อสู้] 3) ภาพที่แสดงความรักของตัวละครชายรักชายคือการเดินทาง ได้นำเสนอมโนทัศน์ว่า [ความรักของชายรักชายคือการเดินทาง] 4) ภาพที่แสดงตัวละครชายรักชายคือการหมกมุ่นเรื่องเพศ ได้นำเสนอมโนทัศน์ว่า [ความสัมพันธ์ทางเพศของชายรักชายคือไฟหรือไฟฟ้า] และ [ความสัมพันธ์ทางเพศของชายรักชายคือการกินอาหาร] 2. การใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์นำเสนอภาพชายรักชายในด้านบวก ผู้วิจัยพบเพียง 1 ภาพ คือ 1) ภาพที่แสดงชายรักชายคือไฟ ได้นำเสนอมโนทัศน์ว่า [ชายรักชายคือไฟ]

References

Klindej K, Rodsap N. Conceptual Metaphor of Love s in Composed of Keaw Achariyakul’s SongsReceived: Accepted: July 25, 2019, 7(2): 33-44.

Phanichtrakul K. The Relationship between Language and Ideology of Male Homosexuality in Thai Daily Newspapers: Manutsayasat Wichakan, 21(2): 217-242.

Prasertpitoon D. Gender Diversity Identities of Cover DancePerformers in Thailand. Manutsayasat Wichakan 28(1): 429-453.

Busabokkaew T. Language strategies and self-presentation by the group. "Gay Online". [Doctoral dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2010.

Insathitthanwan I. The conceptual metaphors of love from Japanese music. Manutsat Paritat: Journalof Humanities 2021; 43(1): 49-68.

Phimma N. The Study of Conceptual Metaphor in the Kantruem Songs. liberal arts journal Ubon Ratchathani University 15(2): 158-176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

TU, Y., & Dolphen, D. . (2023). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในการนำเสนอชายรักชายในนวนิยายแปลจีน. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 47–59. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/256918

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Articles)