การสร้างแรงจูงใจตามหลักพุทธธรรมให้แก่ประชาชนในการทำบุญ ของวัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • พระปลัดชุมพล อาภทฺธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พุทธธรรม, วัดพุน้อย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ความสัมพันธ์ และข้อเสนอแนะต่อการสร้างแรงจูงใจตามหลักพุทธธรรมให้แก่ประชาชนในการทำบุญของวัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการสร้างแรงจูงใจตามหลักพุทธธรรมให้แก่ประชาชนในการทำบุญของวัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, SD = 0.429) 2. ความสัมพันธ์ต่อการสร้างแรงจูงใจตามหลักพุทธธรรมให้แก่ประชาชนในการทำบุญของวัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.771) 3. ข้อเสนอแนะคือ 1) ควรสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรภายในวัดมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ 2) ควรมีความพร้อมในเรื่องความสะดวกเช่นการจัดการขยะ 3) ผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี 4) ควรสอนหลักพระธรรมในพระพุทธศาสนาให้คนที่มาวัดเข้าถึงหลักพระธรรมและวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม

References

กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา. (2545). คู่มือการพัฒนาวัด อุทยานการศึกษาในวัดลานวัด ลานใจ ลานกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ชัยศักดิ์ ขาวสังข์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา (วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พระครูสังฆรักษ์บุญสม ปญฺญาวโร (นิลวงษ์). (2558). แรงจูงใจในการบวชเนกขัมมจาริณีของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิโกมลคีมทอง.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฎเทพสตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-29

How to Cite