การเมืองเรื่องอัตลักษณ์: พระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์ ทางชาติพันธุ์ของแรงงานไทใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศิริสุดา แสงทอง นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การเมืองอัตลักษณ์, อัตลักษณ์, แรงงานข้ามชาติ, ไทใหญ่

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ของแรงงานชาติพันธุ์ไทใหญ่ มีเนื้อหาที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ทั้งทางด้านการเมืองและสังคมของแรงงานชาติพันธุ์ชาวไทใหญ่ 2) พระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของแรงงานไทใหญ่ 3) วิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของแรงงานไทใหญ่  ผลจากการวิเคราะห์ศึกษาข้อมูล พบว่า 1) ด้านบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแรงงานชาติพันธุ์ไทใหญ่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ผ่านกระแสความทันสมัย และการเข้าถึงสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย 2) ด้านพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์ของแรงงานชาติพันธุ์ไทใหญ่ พบว่า แรงงานชาติพันธุ์ไทใหญ่นั้นมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง 3) ด้านอิทธิพลพระพุทธศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์แรงงานชาติพันธุ์ไทใหญ่ พุทธศาสนาถูกนำมาเป็นจุดเด่นของกลุ่มแรงงานชาติพันธุ์ไทใหญ่ในการผลิตซ้ำอัตลักษณ์เพื่อตอบโต้วาทกรรมด้านลบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ และใช้พระพุทธศาสนาในการสร้างและผลิตซ้ำ ทวิอัตลักษณ์ของความเป็นไทใหญ่ นำเสนอภาพลักษณ์ความเป็นไทใหญ่ว่าแท้จริงแล้วก็มีอีกด้านหนึ่งที่มีความเป็นไทย และเสนอมุมมองว่าไทใหญ่ก็สามารถดำรงอยู่ร่วมกันกับคนไทยได้

Author Biography

ศิริสุดา แสงทอง, นักวิชาการอิสระ

 

References

กรมการจัดหางาน. (2560). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร กรมการจัดหางาน. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.doe.go.th

ปณิธิ อมาตยกุล. (2547). การย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่ The Migration of Shan people into Chiang Mai Province (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2553). ทวิอัตลักษณ์: การต่อสู้และการปรบตัวของชาวไทใหญ่พลัดถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 30(1), 47.

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2560). ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ไทใหญ่ รัฐฉานพม่า และภาคเหนือของไทย. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=1836

Yasuda, S. (2008). Shan on the Move: Negotiating identities through spatial practices among Shan Cross-Border migrants in Northern Thailand. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

How to Cite