การตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ชลิต วงษ์สกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พรรษา พฤฒยางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นริศร ทองธิราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การตื่นตัวทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, การกล่อมเกลาทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาการตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจับแบบผสานวิธี

ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีการตื่นตัวจากการกล่อมเกลาทางการเมืองด้านสื่อมวลชน สถาบันการเมือง ครอบครัวและเพื่อน ชุมชน โดยการที่ประชาชนได้ความรู้ ความเข้าใจทางการเมืองในสิทธิหน้าที่ของตน รับรู้ข่าวสาร การมีส่วนร่วมทางการเมือง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมให้ประชาชนมีการตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น โดยการส่งเสริมให้ประชาชนใช้หลักอปริหานิยธรรม 7 ควรส่งเสริมให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน ให้ประชาชนรับรู้ข่าวสารทางการเมืองมากยิ่งขึ้น โดยการให้ประชาชนมีความรู้ทางการเมืองได้จากสื่อมวลชน สถาบันการเมือง เมื่อประชาชนได้รับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อมวลชน หรือสถาบันการเมืองแล้ว ทำให้ประชาชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการเมืองกับครอบครัว ประชาชนมีความรู้ รับรู้ข่าวสารทางการเมืองแล้ว ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีการการตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ดีและถูกต้อง เพราะเกิดจากมีความรู้ทางการเมืองที่ดี

References

กฤษชพลณ์ บุญครอง และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2561). การตื่นตัวทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเยาวชน. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(3), 94-95.

คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 113-114.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ). (2555). การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิย ธรรมของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อุษา กุลบุตร. (2558). ความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง : กรณีศึกษากลุ่มบ้านบางกะม่า อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30

How to Cite