ความพึงพอใจของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการจัดปฏิบัติธรรม ของวัดป่าพุทธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวิสุทธานันทคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสมุทรวชิรโสภณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, พุทธศาสนิกชน, การจัดปฏิบัติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษา ความพึงพอใจ เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการจัดปฏิบัติธรรมของวัดป่าพุทธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพุทธศาสนิกชนที่มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่บ้านห้วยตาบุญจันทร์ หมู่ที่ 9 ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 268 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาอุปสรรค คือ บางพื้นที่เป็นทางชัน ดังนั้น ควรจัดทำทางลาดสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ พระวิปัสสนาจารย์มีจำนวนน้อย ดังนั้น ควรเพิ่มจำนวนพระวิปัสสนาจารย์ให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าปฏิบัติธรรม ขาดคู่มือผู้เข้าปฏิบัติธรรม ดังนั้น ควรจัดทำคู่มือผู้เข้าปฏิบัติธรรม ไม่มีแผนงานด้านการจัดปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ ดังนั้น ควรจัดทำแผนปฏิบัติการจัดปฏิบัติธรรมที่แยกเป็นสัดส่วนจากภารกิจอื่น
ของวัด

Author Biographies

พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

 

พระครูวิสุทธานันทคุณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

พระสมุทรวชิรโสภณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

References

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). สำนักปฏิบัติธรรมดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

________. (2554) สำนักปฏิบัติธรรมดีเด่น 45 สำนัก พุทธศักราช 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

________. (2553) สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ชนิดา ภาพรหมิ. (2559). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยตามหลักไตรสิกขาของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ดวงกมล ทองคณารักษ์. (2554). รูปแบบโครงการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับชาวต่างประเทศในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูปลัดศิริวัฒน์ สมจิตฺโต. (2550). ความพึงพอใจต่อการเผยแผ่ธรรมในวันธรรมสวนะของพุทธศาสนิกชน: กรณีศึกษาเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปิยวัชราภรณ์ (ประทีป ปญฺาทีโป). (2558). ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา สำนักปฏิบัติธรรม วัดอัมพวันปิยาราม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีสุตากร (อภิชาติ อภิาโณ). (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติธรรมในวันเสาร์-อาทิตย์ กรณีศึกษาวัดกลางบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite