การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสงฆ์เพื่อการสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระวีรสิษฐ กมฺมสุทฺโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากังวาล ธีรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวิสุทธานันทคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เปรียบเทียบความคิดเห็น และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสงฆ์เพื่อการสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอโพธาราม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอโพธาราม จำนวน 324 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสงฆ์เพื่อการสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับชั้นเรียน มีผลให้ความคิดเห็นโดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ผู้สอนขาดความชำนาญ รูปแบบการนำเสนอไม่น่าสนใจ และเวลาในการสอนมีจำกัด ดังนั้น ควรมีการอบรบผู้สอนให้มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ปรับปรุงรูปแบบการสอนให้น่าสนใจ และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่ไปกับการสอน

Author Biographies

พระวีรสิษฐ กมฺมสุทฺโธ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

 

พระมหากังวาล ธีรธมฺโม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

พระครูวิสุทธานันทคุณ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2559). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรกลมการพิมพ์.

ช่อบุญ จิรานุภาพ. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร. (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคดิจิทัล (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทวีศักดิ์ เตชธโร. (2560). ประสิทธิภาพการจัดการการศึกษาธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสัมฤทธิ์ อธิจิตฺโต. (2561). รูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(ฉบับพิเศษ), 197-198.

รุ่งรัศมี บุญดาว. (2559). ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ลัคกี้บุ๊คส์.

รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์. (2558). สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

วิโรจน์ ชัยมูล และสุพรรษา ยวงทอง. (2558). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทโปรวิชั่น.

สุภาณี เส็งศรี และคณะ. (2560). ICT: เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2(3), 70.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). คู่มือพระสอนศีลธรรม. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชน ปริ้นติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

How to Cite