การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระมหาบำรุง ธมฺมเสฏฺโฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สุขภาวะผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาระดับการพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามหลักภาวนาธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักภาวนาธรรมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุกับยุทธศาสตร์การพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวและร่างกายไม่แข็งแรง จึงไม่สามารถออกกำลังกายได้มากเท่าที่ควร และไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติธรรมได้ ฉะนั้น ควรจัดกิจกรรมการออกกำลังกายและการปฏิบัติธรรมภายในชุมชนให้ผู้สูงอายุ

Author Biography

พระมหาบำรุง ธมฺมเสฏฺโฐ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

References

จิตติมา กตัญญู และวิทยา ตันอารีย์. (2553). หลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ฐิติวรรณ แสงสิงห์. (2557). การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคำหาญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. พระนครศรีอยุธยา: เทศบาลตำบลมหาพราหมณ์.

สุเทพ สารบรรณ. (2559). การพัฒนาและการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา.(รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูภาวนาโพธิคุณ. (2557). บทบาทการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

พระครูวิบูลเจติยาภิรม (ทวี มีสุข). (2561). กระบวนการเตรียมความพร้อมของวัดในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ.

Feddersen, E. & Ludtke, I. (2011) Living for the Elderly-Principles and Processes. Birkhauser: Germany.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite