ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาเรวัฒ อคฺคาทโร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัย เปรียบเทียบระดับปัจจัย และ ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอคลองหลวง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน เก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถาม และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.30) 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ การศึกษา อาชีพ ต่างกัน  มีปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ควรรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจกับประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลทางการเมือง เช่น การเลือกตั้งล่วงหน้า การตรวจสอบบัญชีรายชื่อก่อนการเลือกตั้ง ตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ให้ประชาชนได้มีโอกาสในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างมีสิทธิและเสรีภาพ มีสิทธิและมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเหมาะสม

Author Biography

พระมหาเรวัฒ อคฺคาทโร, วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา ลาดพร้าว.

คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย: Basic Statistics and Research (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชุติเดช สุวรรณมณี. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปรีชา เรืองจันทร์. (2560). การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม Politics, Economy and Society (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระขรรค์ชัย สุวุฑฺโฒ (เจริญศิลป์). (2559). การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามทัศนคติของประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พิสิษฐ์ วงศารัตน์ศิลป์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 109-202.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2556). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยศึกษาเปรียบเทียบเขตเมืองกับเขตชนบท, (รายการงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานอำเภอคลองหลวง. (2562). งานทะเบียนราษฎร์. สืบค้น 1 กันยายน 2562, จาก https://www.khlongluang.go.th/home

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite