คุณลักษณะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยในทศวรรษที่ 2 (ค.ศ. 2020-2029)

ผู้แต่ง

  • ถนอมขวัญ อยู่สุข บริษัท นีท คอนซัลแทนท์ จำกัด

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, นักบริหารทรัพยากรมนุษย์, ทศวรรษที่ 2

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. เพื่อวิเคราะห์บริบทเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของไทยในปัจจุบัน และ 3. เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวโน้มคุณลักษณะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยในทศวรรษที่ 2 (2020-2029) จากการศึกษาพบว่า นักบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความจำเป็นต่อการบริหารองค์กรทุกประเภท โดยเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของไทยในปัจจุบัน มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาระงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น คุณลักษณะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต จึงต้องเป็นไปเพื่อการปรับปรุงงานที่ตนเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด มีความคล่องตัวมีสมรรถนะสูง และลดค่าใช้จ่าย ดังนั้น จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ คุณลักษณะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยในปัจจุบันและในทศวรรษที่ 2 (2020-2029) ควรมีคุณลักษณะด้วยกัน 7 ประการ คือ 1. มีทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการ 2. มีทักษะการบริหารคน 3. มีทักษะในการบริหารงาน 4. มีทักษะด้านเทคโนโลยี 5. มีทักษะการสื่อสารและแก้ปัญหา 6. มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และ 7. มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ

Author Biography

ถนอมขวัญ อยู่สุข, บริษัท นีท คอนซัลแทนท์ จำกัด

 

References

จักร อินทจักรและเกรียงไกร เจียมบุญศรี. (2548). คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทมีวงษ์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

นฤมล นิราทร. (2561). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัญหาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). 13 สัญญาณเศรษฐกิจไทยโตต่ำสุดในรอบปี 2562. สืบค้น 17 มกราคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-406044

ปราชญา กล้าผจัญ และ พอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).

วันชัย มีชาติ. (2556). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศุภิกา ณ อยุธยา. (2561). ยุทธศาสตร์สู่ชัยชนะแบบซุนวู (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้าวแรก.

สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2560). การสื่อสารในภาวะวิกฤต. นนทบุรี : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุจิตรา พงศ์พิศุทธิ์โสภา และคณะ. (2561). การวิเคราะห์ด้านทรัพยากรมนุษย์ : วิวัฒนาการ การปรับตัวขององค์กร บทเรียน และแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite