การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาล ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เอกชัย พรนิคม 14 หมู่ที่ 3 บ้านป่าไผ่ ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริน จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การเมืองท้องถิ่น, การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น และปัญหาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินการเลือกตั้ง ด้านการร่วมรณรงค์การเมืองท้องถิ่น และด้านการตัดสินใจทางการเมืองทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ประชาชนยังมีการปลูกฝังในระบบอุปถัมภ์อยู่ ไม่ค่อยมีส่วนร่วมทางการเมือง และการประชาสัมพันธ์เลือกตั้งยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ แนวทางการแก้ไขปัญหา ควรปลูกฝังให้ประชาชนมีแนวคิดที่เป็นประชาธิปไตยให้ตระหนักในการใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพื่อสังคมและประโยชน์ส่วนรวมควรมีการรณรงค์ให้เข้าใจต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้นและควรมีการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งให้ครอบคลุมพื้นที่

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย: Basic Statistics and Research (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชไมพร เหล่าพงศ์เจริญ. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครู: ศึกษากรณีโรงเรียน กันทรลักษณ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ และ เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2542). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ชั้นกลาง (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

บุศรา โพธิสุข. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 12(1), 91-92.

รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วิวัฒน์ ศัลยกำธร. (2536). การกำหนดและการนำแผน 3 เขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite