การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในเทศบาล ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • โสภณ สุพงษ์
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประณต นันทิยะกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งทั่วไป, เทศบาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในเทศบาลตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีสมรรถนะทางการเมือง และหลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลการวิจัยด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์สมมติฐานด้วยสถิติค่า t, วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว, และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า บริบทการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ในด้านการดำเนินการเลือกตั้ง, ด้านการร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง, และด้านการตัดสินใจทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ช่วงอายุที่ต่างกันส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป หลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกด้านของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง ยกเว้นด้านการรณรงค์การเลือกตั้งที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง

Author Biography

ธัชชนันท์ อิศรเดช, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

References

คงฤทธิ์ กุลวงศ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหน่องบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 14(3), 109-125.

ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(11), 82-90.

ณิชาภา เหมะธุลิน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศึกษากรณี : ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดบึงกาฬ. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ลัคนา ถูระบุตร และบัญชา วิทยอนันต์. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) กรณีศึกษา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา..Journal of Nakkonratchasima college, 12(3), 140-149.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมมิตร.

สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา.

อภินันท์ จันตะนี. (2549). การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิจัยทางธุรกิจ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อำนาจ ศรีพระจันทร์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.

Aberbach, J.D.. (1969). Alienation and Political Behaviour. American Political Science Review, 13(3), 1-10.

Campbell, A. (1954). The Voter Decides. Evanston: Row & Peterson.

Chaples, E.A. (1976). Political Efficacy and Political Trust. Politics, 7(3), 1-10.

Prewitt, K. (1968). Political Efficacy. International Encyclopaedia of the Sciences, 14(1), 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

How to Cite