การส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรม ของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
พระสงฆ์, ส่งเสริมประชาชน, ฆราวาสธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรมของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรมของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรมของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี
ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรมของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ วุฒิการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรมของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ประชาชนที่มีอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็น โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ขาดการใช้คำพูดที่น่าเชื่อถือ ขาดการข่มใจ ขาดความอดทนต่อความลำบาก ไม่ให้ทำความผิดต่อผู้อื่น ขาดการรู้จักแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น ดังนั้น ควรอบรมให้เข้าใจถึงโทษของการพูด ควรอบรมให้รู้จักยับยั้งชั่งใจก่อนคิดพูดทำและมีสติเสมอ ควรอบรมให้รู้จักประโยชน์ของความอดทน และควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเสียสละสิ่งของแก่ผู้อื่น
References
ทัศนีย์ กลางเภา. (2555). ทัศนะของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามหลักฆราวาสรรม 4 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูเขมาภิวุฒิ. (2553). การพัฒนาการบริหารงานบุคลากรตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพาบ ชิตมาโร. (2557). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม 4 โรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณรงค์ จิตฺตโสภโณ.(2537). ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย: นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระสีม สงฺฆโมทโค. (2553). การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเอกพล กิตฺติปญฺโญ. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสุขของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเซียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2542). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรด้า จันทร์เหลือง. (2556). การปฏิบัติงานตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของตำรวจจราจรสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2539). จริยธรรมกับบุคคล: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิช.
สมหมาย รัตตัญญู. (2552). ศึกษาความพึงพอใจการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างกรมชลประทานตามหลักฆราวาสธรรม 4 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: วิทยาลัยมหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น