สภาพทั่วไปการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, บทบาทพระสงฆ์, การพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนววิถีพุทธ ในจังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ด้านการตัดสินใจและตกลงใจนั้น พระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะผู้ปกครองในฐานะเป็นที่ปรึกษาของชุมชน ในฐานะเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ ด้านการดำเนินงานของแผนและโครงการ พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชุมชนมาโดยตลอดเมื่อชุมชนมีงานหรือมีกิจกรรมใดๆก็ตาม พระสงฆ์ก็จะคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ กิจกรรมเด่นที่พระสงฆ์มีส่วนร่วมกับชาวบ้านในการพัฒนาชุมชนของตน ก็คือ โครงการลงแขกลงคลอง ด้านการรับผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วม คือ ประชาชน ชาวบ้านเข้าวัดเพิ่มมากขึ้น มีผู้อุปถัมภ์วัดและพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น บ้าน วัด และชุมชน อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและพอเพียง บ้าน วัด และชุมชน ด้านการติดตามและประเมินผลโครงการ พบว่า พระสงฆ์ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของชาวบ้านในการติดตามและประเมินผลโครงการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). วัดจะมีส่วนรับภาระและจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ-ได้อย่างไร สกศ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
คะนึงนิตย์ จันทรบุตร. (2532). สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
เปรมชญา ชนะวงศ์ และคณะ . (2553). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนเพื่อการพึ่งตนเองบนฐานทุนทางสังคม (รายงานการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล. (2538). การบริหารวัด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกายและธนาคารสหธนาคารจำกัดมหาชน.
อดุลย์ วังศรี. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง :การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาอภิมาณ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น