แสงสุดท้ายของชีวิต : เมื่อน้องของข้าพเจ้าฆ่าตัวตาย ?

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ภูมะธน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดิเรก ด้วงลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

แสงสุดท้ายของชีวิต, การฆ่าตัวตาย, พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เขียนเพื่อสะท้อนคิดต่อเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย พร้อมเสนอทางออกตามแนวพุทธต่อการยุติความรุนแรงและการฆ่าตัวตาย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัย การสังเกต และสะท้อนคิดภายใต้สถานการณ์ที่มีส่วนร่วมเชิงประจักษ์ด้วยตนเอง เขียนออกมาเป็นความเรียงในแบบบทความวิชาการ

          ผลการศึกษาพบว่า การฆ่าตัวตายมีหลายสาเหตุหลายปัจจัย โดยการฆ่าตัวตายได้ส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งเป็นความสูญเสียในทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และสุขภาวะ การฆ่าตัวตายมีหลายวิธีทั้งการกินยา การใช้อาวุธ หรือการใช้วิธีการผูกคอตาย และพบว่าผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิง โดยมีสาเหตุจากความน้อยใจครอบครัว การทะเลาะวิวาท ยาเสพติด และเศรษฐกิจ ในส่วนประเด็นร่วมของการเขียนเป็นการสันนิษฐานว่า แรงจูงในเกิดจากความน้อยใจ ซึมเศร้า และสิ้นหวัง จึงนำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตายในที่สุด วิธีการแก้ไขคือการอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ต้องเข้าไปปฏิสัมพันธ์สอบถาม และยืนยันช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างจนนำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตาย ตามหลักพุทธศาสนาการฆ่าตัวตายเป็นบาป วิธีการต้องให้คำปรึกษาและให้เห็นความสำคัญในตัวเอง และเห็นคุณค่าในตัวเองเพื่อทำประโยชน์ให้กับตัวเอง สังคม ประเทศชาติ และศาสนา เป็นต้น

References

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. เจาะปัญหาฆ่าตัวตายในสังคมไทยสาเหตุการตายผิดธรรมชาติสูงอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุ. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.hfocus.org/content/2019/05/17140

กิตติวัฒน์ กันทะ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก, 6(1), 16-23.

ณัทธีร์ ศรีดี. (2560). พุทธจริยศาสตร์กับแนวคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 25-39.

ดิเรก ด้วงลอย และคณะ. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทิพากร ไชยประสิทธิ์. (2564). 11 ประเทศ กฎหมายไฟเขียว “ตายอย่างสงบ”.ข่าวไทยพีบีเอส. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/278173

พุฒิรักษ์ รักษ์ย่อง และคณะ. (2563). แนวทางการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอเพื่อการแก้ไขปัญหาการพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายสำเร็จอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(1), 66-80.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

มาโนชย์ หล่อตระกูล. (2553). การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 34(4), 187-189.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2548). แนวคิดทางศาสนาอิสลามเกี่ยวกับการวิจัยทางการแพทย์ สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

รตพร ปัทมเจริญ. (2552). การฆ่าตัวตาย : ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 5(2), 7-24.

สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข และสุพร อภินันทเวช. (2563). การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในประเทศไทย : อุบัติการณ์ สาเหตุ และการป้องกัน. เวชบันทึกศิริราช, 13(1), 40-47.

สุวรรณา สถาอานันท์. (2539). ชีวิตและความตายตามคติคริสตศาสนา ใน มุมมองเรื่องความตายและ ภาวะใกล้ตาย. นายแพทย์ประสาน ต่างใจ บรรณาธิการวิชาการ ธนพรรณ สิทธิ สุนทร บรรณาธิการเรื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.

Durkheim, E. (2002). Suicide: A Study in Sociology. Oxfordshire: Routledge.

Greenberg, J. (1973). Jim Jones: The Deadly Hypnotist. Science News, 116(22), 378-379.

Keown, D. (1996). Buddhism and Suicide : The Case of Channa.

Leighton, A. H. & Hughes, C. C. (1955). Notes on Eskimo Patterns of Suicide. Southwestern Journal of Anthropology, 11(4), 327-338.

Lester, D. (2006). Suicide and Islam. Archives of Suicide Research, 10(1), 77-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite