ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีผลผูกพันตามหลักสัญญาต้องเป็นสัญญา

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมาย, สัญญาต้องเป็นสัญญา, ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

บทคัดย่อ

สังคมนั้นมีพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เชื่อมโยงซับซ้อนมากขึ้น กลไกประการหนึ่งในอันที่จะกำหนดสิทธิหน้าที่และพันธกรณีระหว่างบุคคลเข้าด้วยกัน ให้มีความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้หลัก“สัญญาต้องเป็นสัญญา”หรือ “Pacta Sunt Servanda” เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้วคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ทำขึ้น เพราะถือว่าสัญญาเกิดขึ้นโดยความสมัครใจไม่มีการข่มขู่ สำคัญผิด หรือกลฉ้อฉล หากคู่สัญญาตกลงเข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและสัญญานั้น ๆ ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาจะต้องผูกพันตามข้อสัญญานั้นๆ อย่างเคร่งครัด ซึ่งองค์ประกอบหลักของการเกิดสัญญา จะต้องมีคำเสนอ เป็นการแสดงเจตนาขอทำสัญญา และคำสนองคือการแสดงเจตนาตอบรับทำสัญญาตามคำเสนอ การแสดงเจตนาทำคำเสนอ และมีผู้แสดงเจตนาทำคำสนองตอบรับคำเสนอนั้น โดยที่คำเสนอและคำสนองดังกล่าวถูกต้องตรงกันในทุกข้อทุกประการ สัญญาย่อมถือกำเนิดขึ้น หลักการดังกล่าวเป็นหลักพื้นฐานของสัญญาทุกฉบับ และเป็นหลักที่ได้รับการยอมรับในระบบกฎหมายทุกระบบ

Author Biography

พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

References

กฤษฎากร ว่องวุฒิกุล. (2553). หลักเกณฑ์และผลทางกฎหมายของการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีอันเป็นสาระสำคัญของสนธิสัญญา ตามมาตรา 60 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2553). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ดาราพร ถิระวัฒน์. (2542). กฎหมายสัญญา : สถานัใหม่ของสัญญาปัจจุบันและปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิ์ เอกบุตร. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1 สนธิสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปารวี พิสิฐเสนากุล. (2553). หลัก Clausula Rebus Sic Stantibus ในสัญญาทางปกครอง (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2551). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 13 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

อนงค์ สมบุญเจริญ. (2549). ปัญหาการเปลี่ยนแปลงไปซึ่งมูลแห่งในสัญญา (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Zimmerman, R. (1992). The law of Obligation Roman Foundation of the Civil Tradition. Cape Town: Juta & Co. Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite