การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไป ในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาชาตรี ชาครชโย วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การตื่นตัวทางการเมือง, การไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป, ประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน และศึกษาปัญหาและแนวทางที่ส่งเสริมในการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการตื่นตัวทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.41, S.D.=0.41) 2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการตื่นตัวทางการเมือง โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ข้อเสนอแนะ คือ ประชาชนสร้างความสัมพันธ์ทางบวกในการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง รณรงค์ให้ไปใช้สิทธิ์และเห็นความสำคัญในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เพราะการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเป็นการทุจริตไม่ประกอบด้วยคุณธรรมที่สร้างจิตใต้สำนึกในการตื่นตัวทางการเมือง

Author Biography

พระมหาชาตรี ชาครชโย, วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย: Basic Statistics and Research (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชุติเดช สุวรรณมณี. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปรีชา เรืองจันทร์. (2560). การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม Politics, Economy and Society (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พระขรรค์ชัย สุวุฑฺโฒ (เจริญศิลป์). (2559). การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามทัศนคติของประชาชนในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พิสิษฐ์ วงศารัตน์ศิลป์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 190-202.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2556). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยศึกษาเปรียบเทียบเขตเมืองกับเขตชนบท (รายการงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

How to Cite