คุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร วัดหนองจอก เพชรบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตประชาชน, โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5, ชุมชนหนองจอก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชน เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนหนองจอก ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในชุมชนหนองจอก จำนวน 354 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิต ภาพรวม อยู่ในระดับมาก อายุ การศึกษา และอาชีพ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ต่างกัน ปัญหาอุปสรรค คือ ขาดกิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมสุขภาพในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ควรสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการของชุมชนโดยใช้พื้นที่ของวัดในการจัดกิจกรรม และขาดการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ควรสนับสนุนการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นรูปธรรม

Author Biography

พระมหาอภิวัชร์ อภิวชฺชโร, วัดหนองจอก เพชรบุรี

 

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูชินวรานุวัตร (สิงห์ ชินวโร). (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการการสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ. (2557). การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา (สายัน จนฺทวํโส). (2553). ศึกษาปัญหาและทางออกของการดื่มสุราที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเด่นชัย เมตฺติโก. (2556). แนวคิดเรื่องกายสุจริตในพระพุทธศาสนาเถรวาท (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสาทร ธมฺมาทโร. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5: รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างการดำรงชีวิต. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(ฉบับพิเศษ): 83.

พระอำนาจ ปริมุตฺโต. (2553). ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอำนาจ ปริมุตฺโต. (2553). ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรักษาเบญจศีลของพุทธศาสนิกชนในชุมชนวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมมาส เส้งสุย. (2552). ยุทธศาสตร์การใช้เบญจศีลเพื่อพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

แสงระวี แก้วเมืองฝาง. (2552). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. (2552). การรักษาศีลห้าของพุทธศาสนิกชนวัยแรงงาน: กรณีศึกษาเขตสวนหลวง กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

How to Cite