รัฐศาสตร์แนวพุทธ: วิเคราะห์ภาวะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ วัดไร่ดอน จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

รัฐศาสตร์แนวพุทธ, ผู้นำทางการเมือง, การเมืองที่พึ่งประสงค์

บทคัดย่อ

รัฐศาสตร์แนวพุทธ ถือว่าเป็นการปกครองที่เหมาะสมมาใช้ในสังคม เพื่อให้สังคมนั้นๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี คือมีความสงบเรียบร้อย มีความยุติธรรม มีความสามัคคี ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม จากสภาพปัญหาทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ได้เดินทางเข้าสู่เส้นทางการปฏิรูปทางการเมืองมาแล้วกว่าครึ่งทาง โดยรัฐมีแนวทางหรือได้กำหนดมาตรการหลายประการ เพื่อที่ส่งเสริมพัฒนาทางการเมืองของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้นักธุรกิจสามารถเข้าสู่การแสดงบทบาทของนักการเมืองมากขึ้น เพราะฉะนั้นผู้นำทางการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำมาซึ่งการมีเสถียรภาพทางการเมืองและการนำสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ความผาสุก จากการบริหารและการปกครองโดย เน้นเรื่องภาวะผู้นำทางการเมืองซึ่งมีความสำคัญมากต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ นักลงทุน ตลอดประชาชนในประเทศ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีผู้นำทางการเมืองที่เหมาะสมจะเป็นการพัฒนาการเมืองไทยให้ได้ดียิ่งขึ้นซึ่งจะต้องมีอุดมการณ์และรูปแบบเดียวกันเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการธำรงรักษาความชอบธรรมของการปกครองและการยอมรับของประชาชนที่มีต่อผู้นำทางการเมือง ดังนั้นผู้นำทางการเมืองจึงเป็นผู้ที่นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแบบมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป

Author Biography

พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ, วัดไร่ดอน จังหวัดเพชรบุรี

 

References

ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2548). รัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร พุกกะพันธ์. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

บุญเชิด มารศรี. (2553). บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่มีต่อการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชน ศึกษากรณีอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุขุม นวลสกุล. (2564). รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. สืบค้น 15 มกราคม 2564, จากhttp://psiba.blogspot.com/political-science-in-buddhist-approach.html [03/2012].

อุไรวรรณ ธนสถิตย์. (2543). รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: เปเปอร์เฮาส์.

Burns, J. M. (1987). Leadership. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

How to Cite