สุนทรียะคำผวน: เพศ พฤติกรรมการสมสู่ การสร้างคำใหม่และการสื่อสาร

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ภูมะธน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ดิเรก ด้วงลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

สุนทรียะคำผวน, เพศ พฤติกรรมการสมสู่, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เขียนขึ้นเพื่อศึกษาพัฒนาการของคำผวน ตามความสนใจที่เกิดขึ้นในสภาพจริงที่หน่วยงาน และนำมาคิดขยายความ ใช้การศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย และการสังเกตพูดคุยกับผู้ที่ถนัดเรื่องคำผวนในสำนักงาน

ผลการศึกษาพบว่า คำผวน การประดิษฐ์สร้างคำใหม่ขึ้นมามีนัยยะเพื่อการสร้างคำใหม่ขึ้นมา เพื่อการสื่อสาร เพื่อการบันเทิงและความสนุกสนานสุนทรียะผ่านภาษานั้น ๆ โดยสิ่งที่พบคำผวน เป็นพัฒนาการทางภาษา ที่สะท้อนถึงวิถีวัฒนธรรม และบุคลิกภาพของคนในชาติที่สะท้อนผ่านภาษว่ามีความสนุกสนาน มีความคิดสร้างสรรค์ และในเวลาเดียวกันสะท้อนตัวตนในเชิงแห่งความเป็นรัฐชาติด้วย โดยลักษณะคำผวนที่พบและค้นคว้าได้ข้อสรุปคือ ทำให้เกิดคำใหม่จากคำเดิม สามารถใช้เป็นกลทางภาษา หลีกเลี่ยงการใช้คำไม่สุภาพให้สุภาพได้  ทำให้เกิดคำคล้องจองจากการเล่นคำ และยังใช้สร้างอารมณ์ขันรวมทั้งความบันเทิงทางภาษาด้วย

References

กรเพชร เพชรรุ่ง. (2017). วัฒนธรรมทางภาษา และวิธีการสร้างสรรค์คำในภาษาไทย. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.gotoknow.org/posts/153159

ชุติพงศ์ ปะทาเส. (2564). สรรพลี้หวน…วรรณกรรมคำผวนที่เป็นมากกว่าเรื่องล้อเลียนของสงวน. สืบค้น เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_23079

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2550).ชีวิตและงานของสุนทรภู่ (ฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

ตามใจ อวิรุทธิโยธิน. (2546).กลไกและรูปแบบของการผวนคำในภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นใต้ (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2545). คำมีคม : ว่าด้วยภาษา วัฒนธรรม และอำนาจ. กรุงเทพฯ: มติชน.

เพชร พุมเรียง. (2545). สรรพลี้หวน. กรุงเทพฯ: ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมปักษ์ใต้.

ภรัณยู ขำน้ำคู้และ สุกัญญา สมไพบูลย์. (2562). ปฏิภาณทางภาษาเชิง “สองแง่สองง่าม” ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย. วารนิเทศศาสตร์, 37(1), 46-58.

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช. (2550). รัดทำมะนวยฉบับหัวคูณ. กรุงเทพฯ: บริษัท เซเว่นพริ้นท์ติ้ง จำกัด.

วิภา ศิริสวัสดิ. (2526). วิวัฒนาการของปริศนาคำทายไทย และการนำมาใช้ในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร ศรีวรกานต์. (2546). เรื่องเพศ ปกปิดและเปิดเผย : บทวิเคราะห์วรรณกรรมกามารมณ์ไทย. วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 32(1), 136-161

สนิท บุญฤทธิ์. (2015). คำผวนก็มีที่ยูนนาน. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 15(2), 17-28.

Godechot, J. et al. (1971). The Napoleonic era in Europe. Holt, Rinehart and Winston.

Grab, A. (2003). Napoleon and the Transformation of Europe. Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite