การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสุรชัย สุรชโย วัดโพธิ์ไพโรจน์ ราชบุรี

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้, อปริหานิยธรรม, การปกครองคณะสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็น 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จำนวน 248 รูป และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

พบว่า 1) การประยุกต์ใช้ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) อายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรม และตำแหน่ง เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และ 3) ปัญหาอุปสรรค คือ ผู้บวชใหม่ไม่ค่อยรู้วินัย ดังนั้น ควรส่งเสริมการศึกษาพระวินัยตั้งแต่แรกบรรพชาอุปสมบท และบางวัดขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อบังคับภายใน ดังนั้น ควรกำหนดระเบียบภายในวัดโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของพระภิกษุสามเณรภายในวัด

References

กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูพิพัฒน์จริยาภรณ์ (สาโชติ อาภาธโร). (2554). ประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ). (2554). การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม 7 ของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์วีระศักดิ์ จนฺทวํโส. (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังวรสาธุวัตร (สำรวย สํวโร). (2555). บทบาทของพระสังฆาธิการด้านการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดสุรพงษ์ ฐิตญาโณ. (2556). การศึกษาวิเคราะห์การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักอปริหานิยธรรม: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิภาดา แสนทวีสุข. (2558). การบริหารงานบุคลากรตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite