การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา

ผู้แต่ง

  • สุมณฑา สุภาวิมล บริษัท ชัยสุภา แมนชั่น จำกัด

คำสำคัญ:

การส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และเมื่อพิจารณาสถานการณ์ของประเทศไทย ก็พบว่าประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมานับตังแต่ปี 2549 โดยการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุส่งผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจสังคม ดังนั้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้นต้องส่งเสริมทั้งด้านกายภาพและจิตภาพโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมมาเป็นกระบวนการในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสมบูรณ์ทั้งสภาพกาย และจิตใจ

หลักไตรสิกขาเป็นกระบวนการส่งเสริมคุณภาพผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาโดยผ่านหลักอธิศีลสิกขา ส่งเสริมความเป็นระเบียบ วินัยและเคารพกฎ ข้อบังคับ กติการ่วมกันของสังคมผู้สูงอายุ หลักอธิจิตสิกขา เป็นการพัฒนาด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ให้สามารถเป็นผู้มีจิตใจดีเอื้อเฟื้อ อารีต่อเพื่อนร่วมกัน มีความรักความผูกพัน สร้างเจตคติในทางที่บวกและพัฒนาสภาพจิตใจของผู้สูงอายุได้อย่างมีสติ และอธิปัญญาสิกขา เป็นกระบวนการส่งเสริมคุณภาพผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาที่ผ่านกระบวนการ อบรม ศึกษา และพัฒนา ซึ่งเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อผู้สูงอายุ จนเกิดเป็นองค์ความรู้หรือปัญญารู้แจ้งในการปรับตัวเข้ากับสังคมและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสังคมอย่างไร้ปัญหาและสงบสุขในทุกมิติของสังคมผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จากhttps://www.dop.go.th/th/know/15/926

กรมสุขภาพจิต. (2565). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/sl9JQ

ประชากรกับสิ่งแวดล้อม. (2556). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตนเอง, สืบค้น 12 มกราคม 2565, จาก https://population1.wikispaces.com.

เจริญ นุชนิยม. (2559). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 7(1), 11-24.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวด ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). หัวใจพระพุทธศาสนา. พุทธจักร. 61(5):7

พระราเชนทร์ วิสารโท. (2560).บูรณาการพุทธรรมกับระบบการดูแลสุขภาพระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 4(2):76-91.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก 2500.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite