ประสิทธิผลการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เจ้าอธิการเตชพัทธ์ สนฺติกโร วัดเนินตะเคียน ประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การปกครองคณะสงฆ์, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไป 2) เปรียบเทียบความคิดเห็น และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะประสิทธิผลการปกครองคณะสงฆ์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 122 รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรผันทางเดียว และในส่วนของงานวิจัยคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา ตำแหน่ง วุฒิการศึกษานักธรรม และวุฒิการศึกษาสามัญ มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค คณะสงฆ์บางกลุ่มไม่สนับสนุน ไม่มีการจัดรูปแบบ ไม่ให้ความร่วมมือ บางรูปยังปรับตัวไม่เพียงพอ ไม่ให้ความสนใจในการรับสิ่งใหม่ ๆ ข้อเสนอแนะ ต้องมีการจัดทำแผนงาน อบรมให้ความรู้กับพระภิกษุสงฆ์ให้คำแนะนำปรับตัวกับสถานการณ์

References

กรมการศาสนา. (2542). ข้อมูลพื้นฐานด้านการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2550). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

พระครูปลัดอาทิตย์ อตฺถเวที. (2546) การศึกษาแนวคิดและวิธีการปกครองคณะสงฆ์ของพระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต): ศึกษาเฉพาะกรณีพระสังฆาธิการในเขตปกครองภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิพิธพัฒนโสภณ (สุบิน สุเมโธ). (2558). รูปแบบการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุทรประภากร (เฉลิม ปภงฺกโร). (2555). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการปกครองของพระสังฆาธิการอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังวรสาธุวัตร (สำรวย สํวโร). (2555). บทบาทของพระสังฆาธิการด้านการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจอม จารุวณฺโณ. (2557). ประสิทธิผลของผู้บริหารในการบริหารงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีระพงศ์ ธีรปญฺโญ. (2557). ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลใน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเดชา สังขรุ่งเรือง. (2558) ประสิทธิภาพการบริหารคณะสงฆ์: กรณีศึกษาคณะสงฆ์ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาคิน สีสุธรรม. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรนนทบุรี ตามหลักสูตรพุทธบูรณาการ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite