การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้บริหารธรุกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เพียงหทัย พงษ์สุวรรณ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์, ภาวนา 4, คุณภาพชีวิต, ผู้บริหาร, ธุรกิจก่อสร้าง

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อนำเสนอ การประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริหารธุรกิจก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาหลักธรรมดังกล่าว พบว่าเป็นหลักธรรมที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อคุณภาพที่ดี ท่ามกลางวิกฤต และการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับหลักภาวนา 4 จะส่งเสริมให้ผู้บริหารมีคุณภาพชีวิตดีอย่างยั่งยืน หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เป็นหลักธรรมเพื่อความอยู่ดี มิใช่ด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว แต่เพื่อชีวิตที่ดีทุกด้าน หลักธรรมนี้ มี 4 ประการ คือ 1. อุฎฐานสัมปทา ความหมั่นเพียร 2. อารักขสัมปทา การรักษาทรัพย์ และชื่อเสียง 3. กัลยาณมิตตา การมีมิตรดี 4. สมชีวิตา มีความเป็นอยู่อย่างพอดี โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักต่าง ๆ ของชีวิตที่ดีได้แก่  หลักการทำงานสำเร็จ หลักการจัดการทรัพย์อย่างมั่งคั่ง หลักการแสวงหากัลยาณมิตร และหลักการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การนำหลักภาวนา 4 ได้แก่ การพัฒนากาย ศีล จิต และปัญญา มาใช้ร่วมด้วยจะส่งเสริมให้ผู้บริหารมีการพัฒนากายให้สมบูรณ์ แข็งแรง ส่งผลให้ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร งานมีประสิทธิภาพ มีจิตใจที่เข็มแข็ง อดทน อดกลั้นจากอบายมุข สามารถรักษาทรัพย์ชื่อเสียงได้ดี อยู่ในศีลธรรม เป็นคนดี และใช้ปัญญาในการเลือกคบคนที่ช่วยเกื้อกูลกัน ช่วยแนะนำแก้ไขปัญหา ตลอดจนรู้จักใช้ชีวิตที่พอดี ทั้งหมดนี้ทำให้คุณภาพชีวิตผู้บริหารดีอย่างยั่งยืน

References

กิติปภา ยอดเศรณี. (2565, 9 กุมภาพันธ์). ผู้บริหารฝ่ายเงินเดือน บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) [บทสัมภาษณ์].

ข้อคิดชีวิต. (2559). ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ทางลัดประสบความสำเร็จที่ตรงที่สุด. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://moneyhub.in.th/article/dhamma-for-money/

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). โรคซึมเศร้าทำใจพัง.สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/1718206

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศนพระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

____________. (2547). ธรรมนูญชีวิต (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก (รักษ์เพ็ชร). (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(2), 35-46.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด.

____________. (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บรษัทสหธรรมิกจำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิชซิ่ง.

ศิริ ฮามโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถของมนุษย์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (2552). คุณภาพชีวิต. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/8kvM1

อาณัติ นิลชาว. (2563). รูปแบบพุทธจิตวิทยาพัฒนาตนที่มีผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 53-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03

How to Cite